บันทึกการเดินทางนี้ตั้งใจจะเขียนไปเรื่อยๆ เท่าที่นึกออก และเท่าที่อยากเขียนนะฮะ ถูกผิดอะไรไม่รู้ แต่พยายามเอาให้ถูกต้องละกัน
หวังว่าวันต่อๆ มาจะมีอารมณ์หรือมีเรื่องอะไรมาให้เขียนต่ออีกนะ กลัวใจจริงๆ ว่าจะเขียนวันเดียวแล้วจบ ฮ่าๆ
เวอร์ชั่นสั้น สำหรับคนขี้เกียจอ่านอะไรยาวๆ
ในปัจจุบันหากใครเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และต้องการใช้เงินสดสกุลเงินต่างประเทศเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็มักจะมีทางเลือกเช่นการแลกธนบัตรสกุลนั้นๆ หรือใช้บัตรเครดิตในการชำระเงิน ซึ่งก็มักจะมีปัญหาต่างๆ เช่น
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารกรุงไทยก็ได้เปิดตัว Krungthai Travel Card ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสำหรับนักเดินทาง รวมถึงนักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ โดยบัตรดังกล่าวมีจุดเด่นเช่น
วิธีการสมัคร
ด้านวิธีการสมัครนั้น จะต้องมีบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวันกับกรุงไทยเสียก่อน และสามารถไปสมัครบัตรได้ที่ทุกสาขาของธนาคาร ซึ่งผมไม่เคยมีบัญชีกับกรุงไทยมาก่อน ก็เลยต้องเปิดบัญชีก่อนค่อยสมัครบัตร และทางธนาคารจะให้เรากำหนดรหัสบัตร 6 หลักเอง ซึ่งรหัสสามารถเปลี่ยนได้ที่ตู้เอทีเอ็มของกรุงไทยในภายหลังได้ โดยบัตรมีอายุ 2 ปี
ตัวบัตรจากการตรวจสอบ BIN พบว่าเป็น Visa Prepaid มีการปั๊มหมายเลขนูนลักษณะเหมือนบัตรเครดิต ส่วนชื่อที่ปั๊มบนบัตรเขียนว่า KRUNGTHAI TRAVEL ตัวบัตรยังมีเทคโนโลยี Visa PayWave เพื่อชำระผ่านเครื่องที่รองรับ NFC รวมถึงยังรองรับเทคโนโลยี Chip & PIN อีกด้วย
การใช้งานผ่านแอพพลิเคชัน netbank
จากรายละเอียดด้านบน การแลกเปลี่ยนเงิน ขายคืน ตรวจสอบยอด เปิดปิดการใช้บัตร สามารถดำเนินการผ่านแอพ KTB netbank (หรือชื่อใหม่ตามการรีแบรนด์อย่าง Krungthai netbank) โดยภายในแอพจะมีเมนู Travel card แยกออกมาต่างหาก
ซึ่งเมื่อกดเข้าไปจะพบหน้าจอแสดงสกุลเงินทั้ง 7 สกุลที่สามารถแลกได้ และมียอดคงเหลือของแต่ละสกุล เมื่อกดเข้าไปก็จะพบรายละเอียดต่างๆ ทั้งยอดเงินที่เหลือ วันทำรายการ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น รวมถึงการดูรายการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลังได้ 3 เดือนอีกด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถเปิด-ปิดการใช้งานบัตรได้ตลอดเวลา ซึ่งสามารถเปิด-ปิดได้ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง
สำหรับการซื้อขายนั้น ก็สามารถทำผ่านแอพได้ทันที โดยการกดปุ่มที่อยู่ด้านล่าง โดยสามารถซื้อได้ขั้นต่ำ 1 หน่วยของสกุลเงินนั้นๆ (โดยสามารถซื้อได้ถึงหน่วยทศนิยม 2 หลัก เช่น 1.01 หรือ 9.99) โดยเลือกบัญชีกรุงไทยต้นทาง และใส่จำนวนเงินที่ต้องการ โดยสามารถแจ้งผลการแลกเงินผ่านอีเมลและใส่บันทึกช่วยจำได้
ซึ่งเมื่อแลกเงิน (หรือในแอพคือการโอนเงิน) ก็จะมีการเก็บรูปภาพไว้เป็นหลักฐานในเครื่อง และสามารถใช้เงินได้ทันที ส่วนการขายคืนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เงินที่แลกไว้จะไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่อย่างใด เนื่องจากเก็บไว้ในรูปแบบบัญชีกระแสรายวัน
การใช้งานบัตร
Travel Card สามารถใช้งานได้ใน 3 รูปแบบ คือ
โดยมีวงเงินกดเงินสดไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน และวงเงินซื้อสินค้าผ่านเครื่องรูดบัตรหรือออนไลน์ไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน และสามารถแลกเงินเก็บไว้ได้สูงสุด 1,000,000 บาท โดยวงเงินทั้งหมดคิดจากทุกสกุลเงินรวมกันเทียบในอัตราเงินบาท
อัตราแลกเปลี่ยน
มาถึงจุดสำคัญ นั่นคืออัตราแลกเปลี่ยนว่าจะดีกว่าร้านแลกเงินทั่วไป หรือธนาคารจริงหรือเปล่า
ผมขอเทียบกับร้านแลกเงินชื่อดังย่านประตูน้ำ ที่ขึ้นชื่อว่ามีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด แถมขยายสาขาไปหลายแห่ง (รวมถึงใต้สนามบินสุวรรณภูมิก็มี) อย่าง Superrich Thailand ก็พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของ Travel Card ถือว่าสูสี และอาจดีกว่าในหลายๆ สกุล อีกทั้งยังไม่มีถูกลดอัตรากรณีเป็นธนบัตรย่อยด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนต่างอัตราซื้อขายของ Travel Card จะอยู่ในกรอบแคบๆ สูงสุดไม่เกิน 4 สตางค์ ขณะที่ร้านแลกเงินอาจมีส่วนต่างสูงถึง 25 สตางค์
การเก็งกำไร(!?)
มาถึงตรงนี้ บางคนอาจมองว่าสามารถใช้ช่องทางนี้ในซื้อขายเพื่อการเก็งกำไรค่าเงินที่สะดวก ไม่ต้องเก็บเงินสดจริงๆ และสามารถแลกคืนได้ตลอด อย่างไรก็ตามด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไม่บ่อยครั้งนัก ก็อาจไม่เหมาะกับนักเก็งกำไรเป็นชีวิตมากนัก รวมถึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อีกด้วย
ค่าธรรมเนียม
อย่างไรก็ตาม ได้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมออกบัตร / การถอนเงิน / สอบถามยอด / ขายเงินคืน จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561
สรุป
จุดเด่น
ข้อสังเกต
Krungthai Travel Card ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ออกเป็นธนาคารแรกของไทย และยอมรับว่าไม่คาดคิดว่ากรุงไทยจะออกผลิตภัณฑ์นี้มาเป็นธนาคารแรก น่าจะเป็นธนาคารสีเขียว สีม่วง หรือสีน้ำเงินก่อนมากกว่า (แต่หากจะว่าไป กรุงไทยก็สู้ในสมรภูมิร้านรับแลกเปลี่ยนเงินใต้สนามบินเหมือนกัน ไม่เชื่อลองไปสำรวจอัตราแลกเปลี่ยนที่สาขาแอร์พอร์ตลิงก์สุวรรณภูมิได้) ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทดแทนการถือเงินสดไปใช้จ่ายในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่รับบัตรเครดิตโดยทั่วไป ลดปัญหาเศษเหรียญที่ไม่สามารถแลกคืนได้หรือธนบัตรย่อยที่ถูกกดราคา อีกทั้งอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในขณะนี้ที่มีโปรโมชั่นออกบัตรฟรีด้วย
แต่หากต้องการนำบัตรไปใช้เพื่อกดเงินสดที่ประเทศปลายทาง ก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนัก เนื่องจากยังมีค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดเช่นเดียวกับการนำบัตรเดบิตในประเทศไปกดเงินที่ต่างประเทศอยู่
ใครมีแผนเดินทางต่างประเทศ อย่างน้อยๆ ไปรับบัตรมาก่อน ก่อนตัดสินใจใช้ในการท่องเที่ยวต่างประเทศก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด
Tags: กรุงไทย, ท่องเที่ยว, ธนาคาร
สรุปสำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านคนบ่นอะไรก็ไม่รู้…
หลังจาก ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ขายกิจการรายย่อยให้กับ ธ.ทิสโก้ ลูกค้าอย่างผมก็ต้องย้ายบัญชีตามไปกับเขาด้วย จะไปฝืนก็ไม่ได้หนะนะ
ไอ้เราก็ทำเรื่องอะไรเรียบร้อยตั้งแต่เดือนกันยา ได้สมุดบัญชี 2 เล่มของทิสโก้พร้อมบัตรเดบิต แต่ก็ยังต้องรอวันที่ 2 ตุลาถึงจะใช้งานอะไรได้
พอมาวันที่ 2 ตุลา ก็ไปที่ทิสโก้สาขาห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านสยาม (บอกชื่อไปเลยไหม!) ไปถึงประมาณทุ่มนิดๆ ตามคาด คนล้นออกมานอกสาขา (เพราะเป็นธนาคารเล็กๆ ที่นั่งไม่มากเท่าไหร่) แต่คิดว่าแค่มาปรับสมุดกับสมัคร Mobile Banking ไม่น่านาน เสร็จแล้วค่อยไปกินข้าว
แต่ระบบคิวชวนงงมาก เพราะทุกคิว ทุกธุรกรรม เรียกไปที่เคาท์เตอร์ 1-2 หมด อาจเข้าใจได้ว่าแบงก์ใกล้ปิดแล้วเลยเปิดแค่นั้น แต่โอ้โห พนักงานประมาณ 5-6 คน อยู่เคาท์เตอร์ 2 หน้าเคาท์เตอร์คอยเรียกคิวกับวิ่งไปมาอีก 2 ยืนกดมือถือตรงโต๊ะฝั่งเปิดบัญชีอีก 2 คน ทำงานก็แบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ มาก ความกระตือรือล้นแทบเป็นศูนย์ ลูกค้าก็นั่งรอไป
ทุ่มครึ่งก็แล้ว ทุ่มสี่สิบห้าก็แล้ว สองทุ่มก็แล้ว คิวไม่มีวี่แววจะใกล้ เลยย้ายไปนั่งตรงโต๊ะฝั่งเปิดบัญชี พอสักสองทุ่มสิบกว่าๆ เหลือบไปเห็นที่โต๊ะมีคนถามว่าเปิด Mobile Banking ยังไง แล้วพนักงานก็ทำให้เลย เหลือบไปดูบัตรคิว อ้าว คิวหลังกูอีก 2-3 คิวเลยหนิ
ปรี๊ดแตกสิ รอมาเป็นชั่วโมง ข้าวก็ไม่ได้กิน แล้วคิวที่กดมาจะกดทำไม?
เลยถามพนักงานไปว่า “สมัคร Mobile Banking ไม่ต้องรอบัตรคิวเหรอ” (น้ำเสียงหงุดหงิด ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยหงุดหงิดใส่ชาวบ้านแบบต่อหน้านะ) พนักงานก็ตอบมาประมาณว่าคิวมันแยกออกจากกัน (อ้าว!?) แต่ก็สมัครได้เลย (ยังไง?) พนักงานก็ขอบัตรประชาชน (ไปสองคน แต่ขอคนเดียว เอาสิ) พร้อมสมุดบัญชีอีก 4 เล่ม (โดยไม่ถามอะไรสักคำ) แล้วก็เชิญไปที่เคาท์เตอร์ขวาสุดเพื่อนั่งรอต่อไป
สักพัก ก็เอาใบสมัครมาให้เซ็น แล้วก็ให้กรอกเบอร์มือถือ เลขบัตรประชาชน และเลขบัญชี…
แต่ สมุดบัญชีก็อยู่กับพนักงาน แถมเลขบัญชีทิสโก้ดันไม่เหมือนธนาคารหลักๆ ใครจะไปจำได้ล่ะ? พนักงานเลขเอาสมุดบัญชีมาให้กรอก แล้วก็บอกว่ารอรหัส OTP ที่จะส่งมาให้ แล้วก็หายไป…
สักพักพอประมาณ ค่อยมาถามว่าได้ OTP ยัง ให้เอาไปกรอกในแอพเพื่อลงทะเบียนเลย แหม่ ไม่บอกตอนรหัสหมดอายุเลยล่ะ? พอตอนสมัครก็ให้ใช้ User มีเลข Password มีอักขระพิเศษ แต่ในระบบไม่เห็นบอกเลย ทำไมต้องเชื่อพนักงานล่ะ? แล้วดันใช้ได้ด้วยนะ…
แล้วพอจะสมัครคนที่สองก็ต้องให้ถามว่าสมัครยังไง ค่อยขอบัตรประชาชนไปทำให้ (นี่ไม่คิดจะถามเลยสินะ) พอตอนรอ OTP รอซะนาน นานขนาดพนักงานมาถามรอบที่ 3 ถึงส่งมาให้
แล้วพนักงงานท่านก็เอาสมุดบัญชีไปดองไว้ที่ไหนก็ไม่รู้ กว่าจะได้สมุดคืนจนออกจากธนาคาร ปาไปเกือบสองทุ่มครึ่ง…ชั่วโมงกว่าๆ ไม่ได้เหี้ยอะไรเลย ประทับใจสุดๆ พอดีกับ SCB ขยายวงเงินบัญชีออมทรัพย์อีซี่เป็น 2 แสนพอดี จะรอช้าอยู่ใย ย้ายสิฮะ!
บ่นแบบไม่รู้เรื่องมาตั้งนาน มาสรุปข้อสังเกตดีกว่า
สรุป ข้อเตือนใจสำคัญของเรื่องนี้ คือ เดินเข้าไปถามพนักงานเลยถ้ามันนานเกินควร และ อย่าไปทำธุรกรรมการเงินในวันแรกๆ
เพราะมันจะมีเรื่องน่าหงุดหงิดแบบนี้แหละ!
ส่วนตอนนี้ก็ขอย้ายเงินออกไปก่อนนะจ๊ะ ไว้อารมณ์ดีๆ ค่อยกลับมาใหม่แล้วกันนะ
ตอนนี้เรื่อง e-payment กับ e-money กลายเป็นกระแสที่ตอนนี้หลายฝ่าย (โดยเฉพาะภาครัฐ) ให้ความสนใจกันมาก ไล่มาตั้งแต่ PromptPay ต่อยอดมา QR PromptPay
จนตอนนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานทางการเงินอื่นๆ ประกาศว่าได้พัฒนาบริการเชื่อมโยงระบบ e-wallet เข้ากับระบบ PromptPay ตั้งแต่ 15 กันยายนที่ผ่านมา
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณในการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และหันมาใช้เงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แล้วยังช่วยลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินเข้า-ออกจาก e-wallet ที่บางเจ้าคิดได้มหาโหดมาก
จากรายชื่อเบื้องต้น มี 10 ธนาคาร บวกกับ 2 ผู้ให้บริการ e-wallet นั่นคือ mPAY กับ TrueMoney นั่นเอง (ล่าสุดเห็นว่า DeepPocket กับ BluePay เปิดให้บริการแล้วเหมือนกัน)
คราวนี้ก็เลยอยากลองของสักหน่อยว่าการโอนเงินเข้าออกมันจะเป็นยังไง ตามประสาหนูลองยา
เบื้องต้นบริการที่เปิดก่อนนั่นคือค่ายเจ้าสัวก่อน แต่ขั้นแรกต้องลงทะเบียนที่แอพ
แล้วก็ไปยืนยันตัวตนที่ตู้ทรูมันนี่ ตามนี้
ส่วนค่ายเขียวนั้น ลงทะเบียนผ่านแอพเหมือนกัน ขั้นตอนเหมือนๆ กัน แล้วไปยืนยันตัวตนที่ AIS Shop (ซึ่งยังไม่ได้ไปลอง)
และเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย ก็จะได้หมายเลข e-wallet 15 หลัก (ซึ่งเป็นรหัสพร้อมเพย์ด้วย) โดย 5 หลักแรกจะเป็นของแต่ละเจ้า ส่วน 10 หลักหลังคือหมายเลขโทรศัพท์ที่ผูกกับ e-wallet ซึ่งของ mPay ขึ้นต้นด้วย 11000 ส่วน TrueMoney ขึ้นด้วย 14000
แน่นอนว่าเมื่อมันกลายเป็นพร้อมเพย์ ก็ย่อมมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ารหัสพร้อมเพย์อื่น ทั้งการโอนเงินเข้าออกแบบทันที ไม่มีค่าธรรมเนียมถ้าไม่เกิน 5,000 บาท และไม่มีขั้นต่ำ
ซึ่งจากการสำรวจพบว่าแอพบนมือถือของหลายธนาคาร มีเมนู “เติมเงินพร้อมเพย์” หรือ “เติมเงิน e-wallet” แล้ว ซึ่งก็สามารถใช้งานได้ทันที
แต่บนหน้าเว็บนี่แหละที่เป็นปัญหา!
เพราะการเติมเงินหรือโอนเงินบนหน้าเว็บ หลายธนาคารต้องเพิ่มผู้ให้บริการก่อน ซึ่งแน่นอนว่าไม่สะดวกสำหรับการโอนรายครั้ง
รวมทั้งเมนู บางธนาคารเอาไปใส่ไว้ใน “เติมเงิน” บางธนาคารใส่ใน “โอนเงิน” บางธนาคารก็ไม่มีเมนูนี้เลย!
ก็คงต้องให้เวลากันต่อไป เพราะมันเป็นแค่การเริ่มต้น
ซึ่งพอลองสรุปเป็นข้อๆ ดู ก็มีข้อน่าสนใจและข้อสังเกตเหมือนกัน
ก็ต้องดูต่อไปว่าโครงการ National e-Payment ของรัฐบาลที่ตั้งอกตั้งใจผลักดันกันจะสำเร็จได้แค่ไหน? จะพัฒนาเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้หรือเปล่า? และความกังวลเรื่องภาษีของหลายๆ คน (ที่ยังไม่กล้าใช้พร้อมเพย์) จะเป็นจริงไหม?
ก็ต้องดูกันต่อไปนะฮะ…
Tags: e-payment
ด่วน 3GX จะปรับปรุงระบบ 22 ต.ค. 59 ซึ่งอาจกระทบต่อการใช้งานเลขหมายของท่าน กรุณาติดต่อ 025765599
ข้อความนี้(เชื่อว่า)ผู้ใช้งาน i-mobile 3GX หลายๆ คนน่าจะได้รับ ซึ่งด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่น่าจะเป็นปัญหาที่ใหญ่โตพอสมควร จึงต้องมีการส่ง SMS บอกแบบนี้
เอาล่ะ ประจวบเหมาะกับที่มีปัญหาเรื่องซิมโดนตัดพอดี โทรไปถามสักหน่อย
Call Center ของ Open (อย่าลืมว่า i-mobile เปิด MVNO อยู่ 2 เจ้า คือ 3GX กับ OPEN ที่ก็ลูกผีลูกคนเหมือนกัน) บอกว่าจะมีการปรับปรุงระบบ ทำให้เบอร์เดิมไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นมี 2 ทางให้เลือก
เอาละสิ ใจก็อยากให้ 3GX เพราะมันเป็นเครือข่ายสำรองจริงๆ เวลาไปสถานที่ที่เครือข่ายมักเต็มบ่อยๆ เน็ตจะวิ่งฉิวมาก (ซึ่งไม่รู้เข้ายุค 4G แล้วยังมีปัญหานี้อยู่ไหม ไม่เคยไปงานคนเยอะๆ สักที) กับโปรโมชั่นที่เร้าใจเหลือเกิน
เนื่องจากเบอร์เก่าเป็นเลขตองท้ายด้วย (ซื้อซิมพร้อมเติมเงินตั้งพันนึงแหนะ) เลยขอ CC ว่าอยากได้เป็นเลขตองเหมือนเดิม แล้วก็กำหนดเลขไปให้ด้วย
ต้องรอดูผลต่อไปว่าจะได้หรือไม่ได้อย่างไร (แต่ไม่น่าจะได้หรอก เบอร์ที่ต้องการหนะ!)
แต่ว่าไป เพราะอะไรถึงใช้คำว่า “ปรับปรุงระบบ” แต่บังคับต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง ทำไมจึงไม่สามารถนำเบอร์ที่มีย้ายมาใช้งานกับระบบ(ที่อ้างว่า)ใหม่ซะเลย
เลขหมายของ i-mobile มีแต่หมวด 06 แต่เบอร์ที่จะเอามาให้ใหม่ยังเป็นหมวด 0893 ซึ่งจากการตรวจสอบเบอร์บางส่วนเป็นของ TOT และบางส่วนเป็นของ DTAC
แสดงว่าเบอร์ที่จะเอามาให้ใหม่ยังเป็นของ TOT เหมือนเดิม ถ้าอย่างนั้นจะต้องเปลี่ยนให้ใช้เบอร์ใหม่ทำไม
นี่ก็คงเป็นคำถามที่ไม่ทราบคำตอบต่อไป…
Tags: i-mobile3gx, tot
ครบรอบ 1 ปีกว่าๆ อย่างเป็นทางการของการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล (ดิจิตอล ตามการใช้ของ กสทช.)
ช่วงนี้ก็มีประเด็นร้อนๆ ของผู้ให้บริการบางเจ้าที่จะไม่จ่ายค่าใบอนุญาตที่ประมูลมาด้วยมูลค่ามหาศาลเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา
แต่เอ๊ะ แล้วเงื่อนไขของการจ่ายค่าใบอนุญาตมันเป็นอย่างไรล่ะ? มาดูกัน
ก่อนอื่นต้องมาดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการประมูลนี้ว่าเป็นอย่างไร
ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการประมูลนั่นคือ ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 ซึ่งได้กำหนดการจ่ายเงินค่าใบอนุญาตเอาไว้เป็น 6 งวด ได้แก่
แต่ละงวดห่างกัน 1 ปี โดยอายุของใบอนุญาตอยู่ที่ 15 ปี (ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
นอกจากนี้ยังมีค่าเช่าโครงข่าย (MUX) และค่าธรรมเนียมเข้ากองทุน กทปส. (ที่โดน คสช. ยึดไปเรียบร้อย แฮ่)
เอาเป็นว่า มาดูตารางรวมเลยดีกว่าว่าแต่ละช่องต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเท่าไหร่
ส่วนแต่ละเจ้า จะจ่ายครบตามนี้หรือไม่
มันก็แล้วแต่ผู้ประกอบการแต่ละเจ้าจะเลือกทางเดินนะครับ!
Tags: ทีวีดิจิตอล
ใจหายใจคว่ำกันเลยทีเดียว สำหรับทีมชาติไทย ภายใต้การคุมทีมของอดีตตำนานทีมชาติ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ที่ไปคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 ถึงบ้านของมาเลเซีย ด้วยผล 2 นัด 4-3 (2-0 , 2-3)
แน่นอนว่าตอนนี้ ทั้งซิโก้และขุนพลช้างศึก กลายเป็นจุดสนใจของคนไทยทั้งประเทศไปแล้ว กลบกระแสอื่นๆ ไปแทบมิด
แต่ถึงแม้ศึกในสนามจะจบไปแล้ว แต่ศึกที่กำลังจะเกิดขึ้นแน่นอน นั่นคือ ศึกหน้าจอ ของเหล่าบรรดาสถานีโทรทัศน์ทั้งหลาย ที่จะจับจ้องเอาทีมฟุตบอลชุดนี้ไปเป็นแขกสำคัญของรายการข่าวตัวเอง
ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเกิดประโยชน์อะไรมากนัก เหมือนเป็นการเกาะกระแสหากินของสื่อไทย (ที่แทบจะเป็นเรื่องปกติ) แต่ก็ถือเป็นเรื่องน่าสนใจว่า
ใคร จะได้ช้างศึกโขลงนี้ ไปออกหน้าจอตัวเองก่อน?
ก่อนอื่น ต้องทราบว่ากำหนดการเดินทางกลับมาเมืองไทยของทีมชาติชุดนี้ (น่าจะ) ถึงเมืองไทยประมาณ 14:25 ด้วยไฟลต์ AK884 มาลงที่สนามบินดอนเมือง แล้วจะแห่ขบวนไปที่สนามศุภชลาศัย ผ่านทางเส้นวิภาวดีฯ-อนุสาวรีย์ชัยฯ-พญาไท-ปทุมวัน-สนามศุภ
ถึงแม้ว่าสถานีโทรทัศน์หลายๆ ช่องจะส่งนักข่าวของตัวเองไปถึงมาเลเซีย เพื่อทำข่าวของทีมชาติ บางช่องติดตามมาตั้งแต่ก่อนการแข่งขัน
แต่ดูๆ ไปแล้ว ในศึกนี้มีผู้เล่นที่น่าสนใจอยู่ 3 รายด้วยกัน
หนึ่งคือ ช่องมากสี ย่านหมอชิต
สองคือ ช่องน้อยสี แถวๆ คลองเตย
สามคือ ช่องหัวเขียว ริมวิภาวดี
ช่องมากสี
ช่องน้อยสี
ช่องหัวเขียว
นอกจากนี้ยังมีบางช่องที่ส่งนักข่าวไปทำข่าวแล้วรายงานกลับมาสดๆ อย่างช่องแถวๆ บางนาที่ส่งนักข่าวไปถึงริมสนามแล้วโทรกลับมา หรือช่องเคเบิลอย่างช่องกีฬาแถวๆ นวลจันทร์ ที่ได้สิทธิพิเศษบุกเข้าไปในห้องแต่งตัวตอนพักครึ่งมาแล้ว (สงสัยอาศัยบารมีท่านวีวี่)
แต่สามช่องที่ว่าก็คงมีบารมีสูงกว่าช่องอื่นๆ ที่จะฉกเอานักเตะทั้งทีมมาออกทีวีได้
แต่เชื่อเลยว่า การเดินทางกลับของนักฟุตบอลไทยชุดนี้ ต้องคึกคักตั้งแต่สนามบินดอนเมืองถึงสนามศุภชลาศัยแน่นอน
ป.ล. ว่าไป พนักงานของแอร์เอเชียอาจต้องทำงานหนักบนเครื่อง AK884 แน่ๆ หึๆ
Tags: ฟุตบอล