“จุฬาฯ ตั้งเป้า 2 ปี สู่ ม.สร้างเสริมสุขภาพ บังคับปี 1 ทำกิจกรรมอาสา บันทึกลงทรานสคริปต์”
“จุฬาฯ ตั้งเป้า 2 ปีสู่ “มหา’ลัยสร้างเสริมสุขภาพ” เต็มตัว อธิการฯ เผย ปีหน้านิสิตปี 1 ทุกคน ต้องเน้นกิจกรรมอาสา อย่างน้อย 10 ชั่วโมง/ปี เป็นเวลา 3 ปี บันทึกลงทรานสคริปต์ หวังกระตุ้นการมีจิตสำนึก+จิตอาสา เตรียมถกหามาตรการหากนิสิตไม่ปฏิบัติตาม จะไม่ให้จบการศึกษาหรือไม่”
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000006624
————————————————————————————————————————————————-
นี่คือหัวข้อข่าวจากเว็บไซต์ข่าวเว็บหนึ่ง ที่ระบุว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะนำเรื่องของการทำกิจกรรม “จิตอาสา” มาบังคับใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2554 โดยจะต้องทำกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมอาสา จำนวน 10 ชั่วโมง/ปี เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีการระบุว่ารูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการรวมกลุ่มกับเพื่อน หรือคณะ หรือมหาวิทยาลัย มีการบันทึกลงในเมื่อสำเร็จการศึกษา
โดยทางอธิการบดีจุฬาฯ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ได้ให้ความเห็นว่า “การบันทึกความดีลงทรานสคริปต์จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการไปสมัครงาน ซึ่งจะทำให้นายจ้างเห็นได้ว่านิสิตนอกจากจะขยันเรียนแล้ว ยังทำประโยชน์ให้แก่สังคมด้วย เพื่อให้สมกับเกียรติภูมิจุฬาฯ คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าจะเป็นปีแรกในการดำเนินการ หากนิสิตคนใดไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดก็อาจจะยังไม่มีการดำเนินการ อะไร แต่จากการหารือร่วมกับคณบดีคณะต่างๆ ในเบื้องต้น มีบางรายได้เสนอว่าหากไม่ถึงอาจจะไม่ให้จบการศึกษา แต่ประเด็นนี้จะเป็นข้อสรุปหรือไม่คงต้องหารือกันต่อไป”
ฟังดูแล้วคำว่า “จิตอาสา” เหมือนจะเป็นคำใหม่ที่ดูแปลกหูสำหรับคนไทย และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย (เหมือนกับคำว่า “โลกร้อน” และ “พอเพียง” ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระแส จนอาจถูกบิดเบือนความหมายออกไป)
แต่เมื่อมองดูแล้ว “จิตอาสา” ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างที่หลายๆ คนคิด แต่มันก็คือการทำกิจกรรมที่ผู้ทำลงไปเป็น “อาสาสมัคร” หรือการ “ทำความดี” นั่นเอง
หากจะอ้างอิงความหมายของ “จิตอาสา” หรือ “อาสาสมัคร” ก็อยากจะอ้างถึงวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ให้ความหมายไว้ว่า “การมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น” และ “การใช้แรงงานและกายทำเพื่อส่วนรวม”
กิจกรรมจิตอาสา หรืออาสาสมัครก็มีให้เห็นอยู่มากมายหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่นในกรณีที่มีเหตุด่วนเหตุร้าย หรือภัยพิบัติต่างๆ เกิดขึ้น ก็จะพบกับกับกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การบริจาคโลหิตเมื่อมีข่าวการขอรับ การลงไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในเหตุภัยพิบัติต่างๆ หรือการแจ้งเบาะแสของโจรผู้ร้ายให้แก่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง
หรือการทำความดีเล็กๆ น้อยๆ เช่นการช่วยจูงเด็กหรือผู้สูงอายุข้ามถนน การให้ที่นั่งผู้อื่นบนรถโดยสาร การทิ้งขยะลงถังก็ถือเป็นการทำความดีเช่นกัน
ล่าสุดที่จุฬาฯ จะนำเอาเรื่องการนับชั่วโมงกิจกรรมมาใช้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในนโยบายที่ทางผู้บริหารต้องการให้นิสิตที่จบออกไปนั้นมีคุณภาพ มีการทำประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ
————————————————————————————————————————————————-
เมื่อมามองในกรณีที่จุฬาฯ จะนำการเก็บชั่วโมงกิจกรรมมาใช้ แน่นอนว่าในทางทฤษฎีนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของตัวนิสิต รวมไปถึงมหาวิทยาลัย
แต่ในทางปฏิบัติ ยังพบข้อปัญหาอีกหลายประการที่จะต้องหาแนวทางในการจัดการให้เป็นมาตรฐานได้
1. การนับจำนวนชั่วโมงกิจกรรม
จุฬาฯ ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการทำกิจกรรมค่อนข้างมาก ทั้งกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมคณะ การรวมกลุ่มของนิสิตด้วยกันเองในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมของนิสิตที่ทำในนาม “สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
– การกำหนดชั่วโมงในแต่ละกิจกรรมจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นหากไปทำค่ายพัฒนาชุมชน 9 วัน จะได้จำนวนชั่วโมงเท่าใด หากทำกิจกรรมภายในคณะ จะนับเป็นชั่วโมงกิจกรรมหรือไม่ หรือแม้กระทั่งไปร่วมงานที่ทางสโมสรนิสิตฯ เป็นผู้จัด จะได้จำนวนชั่วโมงเท่าใด
– จากด้านบน จะให้หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดจำนวนชั่วโมงกิจกรรม จะให้ทางผู้บริหาร คณบดี อาจารย์ หรือนิสิตด้วยกันกำหนดจำนวนชั่วโมงที่จะได้รับ และจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจำนวนชั่วโมงที่ได้รับนั้นเหมาะสมแล้ว
2. ประเภทของกิจกรรม
กิจกรรมประเภทสันทนาการที่จัดขึ้น เช่น กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมสำรวจจุฬาฯ หรือกิจกรรมที่เป็นงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีรับปริญญาบัตร พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ซึ่งไม่มีลักษณะของการเป็นกิจกรรมอาสา จะมีการนับจำนวนชั่วโมงหรือไม่
รวมทั้งหากเป็นกิจกรรมอาสา แต่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มของนิสิตกันไป (ไปทำคนเดียว) จะถือว่าเป็นการทำกิจกรรมอาสาและได้นับจำนวนชั่วโมงหรือไม่
3. มาตรการในการควบคุมการปฏิบัติ
การให้สัมภาษณ์ของอธิการบดี ได้มีการกล่าวถึงการประชุมคณบดี ซึ่งมีคณบดีบางท่านได้ให้ความเห็นว่าอาจมีมาตรการถึงขั้นไม่ให้จบการศึกษาหากปฏิบัติไม่ครบจำนวนชั่วโมง
นี่กลายเป็นว่าการทำ “กิจกรรมอาสา” หรือ “จิตอาสา” ต้องเป็นการบังคับกันแล้วหรือครับ?
ชื่อกิจกรรมก็บอกแล้วว่าเป็น “จิตอาสา” แต่มีการบังคับว่าต้องทำให้ได้เท่านั้นเท่านี้ ดูแล้วมันแปลกๆ นะครับ
และหากมีการกำหนดชั่วโมงออกมา จะมั่นใจได้อย่างไรว่านิสิตได้ไปทำกิจกรรมจริงๆ มีประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ไม่ได้เป็นการทำไปเพื่อหวังชั่วโมง ทำแบบผ่านๆ ไปให้มันพ้นๆ ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง
4. Activity Transcript
ก่อนหน้าที่จะมีการกำหนดนโยบายเรื่องจิตอาสา จุฬาฯ ก็มีการบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ของนิสิตในรูปของ Activity Transcript (A.T.) ซึ่งเมื่อมองแล้วอาจจะบอกได้ว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง (นิสิตบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร และมันมีด้วยหรือ) และประโยชน์ในการนำไปใช้ยังไม่ค่อยมีมากนัก
จึงเป็นที่น่าตั้งคำถามว่า มาตรการเดิมก็มีแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ จะนำมาตรการใหม่มาใช้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ หากมีแนวทางในการปฏิบัติเช่นเดิม
————————————————————————————————————————————————-
หากมองดูแล้ว การนำมาตรการชั่วโมงกิจกรรมมาใช้ในการสำเร็จการศึกษานั้น มองดูแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่ดี
แต่หากกมองอีกมุมหนึ่ง เรื่องของการทำกิจกรรมอาสา เป็นเรื่องของ “จิตสำนึก” ของแต่ละบุคคลที่พึงจะปฏิบัติอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
หากมีการ “ปลูกจิตสำนึก” ในเรื่องของการทำกิจกรรม “จิตอาสา” เป็นพื้นฐานของนิสิตแล้ว ไม่ต้องมีสิ่งใดๆ มาบังคับหรอกครับ ทุกคนก็พร้อมทีจะปฏิบัติอยู่แล้ว
แต่หากใช้การบังคับ จะมั่นใจได้อย่างไรว่ากิจกรรมที่พวกเขาทำนั้น เป็นกิจกรรม “จิตอาสา” ที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
ไม่เช่นนั้น มันก็อาจเป็นเพียง “ของเล่นชิ้นใหม่” สำหรับผู้บริหารในการสร้างภาพให้ดูดีเท่านั้นเอง…
ตอนนี้ก็มาถึงช่วงเวลาการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยกันของเด็กม.6 ปีนี้อีกแล้ว
รวมทั้งเด็กที่พลาดหวัง หรือต้องการแก้ตัว ขอคัดเลือกเข้าคณะที่ตัวเองต้องการอีกครั้ง
หลักจากที่ตัวเองหลีกหนีความไม่แน่นอนในอนาคต โดยเลือกคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยวิธีรับตรง (ทั้งๆ ที่กูอุตส่าห์เลือกต่อจากเศรษฐศาสตร์กับบริหาร) แทนที่จะเอาเศรษฐศาสตร์ มธ. ที่เหมือนว่าจะอยากเรียนในคณะนี้มากกว่า แต่ดันอยากไปตลาดสามย่านมากกว่าตลาดไทซะอย่างนั้น (ไม่รู้คิดถูกหรือคิดผิดที่เลือกตลาดสามย่าน เฮ้อ)
———————————————————
หลังจากที่ผ่านไปเกือบ 1 ปี กับคณะนิเทศศาสตร์
ความรู้สึกที่เข้าไปช่วงแรกๆ บอกกับตัวเองเลยว่า “กูจะซิ่วแน่” เพราะสภาพในเทอมแรกที่เข้าไป มันไม่ใช่สิ่งที่คิดไว้กับตอนแรกเลย
รวมทั้งเพื่อน รุ่นพี่ กิจกรรมและวัฒนธรรมบางอย่างที่อยู่ภายใน มันทำให้ไม่มีความสุขเลยที่จะอยู่ในคณะ
พอผ่านมาเทอมสอง เหมือนมันมีอะไรบางอย่างที่บอกกับตัวเองว่า “เฮ้ย มึงไม่ต้องซึ่วหรอกว่ะ”
มันอาจจะเป็นความกลัว อาจจะเป็นความเคยชิน หรืออาจจะเป็นอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความคิดนี้ขึ้นมา
———————————————————
แต่พอเวลาผ่านมาถึงตอนนี้ มีกระแสหลายทางเหลือเกินที่อยากให้กลับไปเริ่มต้นใหม่ในการเรียนมหาวิทยาลัย
กระแสกดดันภายนอกมันส่งผลถึงจิตใจว่า “เอ๊ะ จะเอายังไงกับชีวิตดี”
———————————————————
ไหนๆ ก็ไหนๆ มาดูข้อดีข้อเสียในการซิ่วกับไม่ซิ่วดีกว่า
ซิ่ว
ข้อดี
ข้อเสีย
ไม่ซิ่ว
ข้อดี
ข้อเสีย
———————————————————
สรุปสุดท้าย
ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะ
สุดท้าย คนที่จะตัดสินใจในชีวิตต่อไป คือ ตัวกูเอง
ฉะนั้น เลือกได้แล้วนะโว้ย!!!
Tags: นิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์
ขณะนี้ได้จัดทำไฟล์รวบรวมผลการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admissions) เรียบร้อยแล้ว
ขอเชิญพี่น้องชาวแสดดำ (หรือคนอื่นก็ได้) ที่สนใจ เชิญดูและดาวน์โหลดได้ที่โลโก้ข้างล่าง
โปรดเผยแพร่และส่งต่อด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง (เพราะกูทำโคตรเหนื่อย?)
ขอบคุณครับ?
Tags: มหาวิทยาลัย, แก่นนครวิทยาลัย, แอดมิชชั่น
วันนี้เป็นวันประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2553
หลายคนก็อาจสมหวัง ผิดหวัง ว่ากันไป
แต่ทำไมกูมาตั้งชื่อเรื่องอย่างนี้เรอะ
ถ้าอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ ก็ลงรอบแอดก็จบ?
เซ็งครับ!
แต่ก็เอาเถอะ ได้ที่เรียนก่อนชาวบ้านก็ดีแล้วแหละ?
ให้คนอื่นเขาได้ที่เรียนแหละดีแล้ว ไม่ใช่ไปแย่งที่นั่งชาวบ้านเขา!
เฮ้อ??????????????????????????????????????..
Tags: จุฬา, แอดมิชชั่น
หลังจากวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมาก็เป็นวันที่เด็กม.6 หลายแสนคนรอคอย
นั่นก็คือวันประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นั่นเอง
หลังจากหลายคนเคยวิพากษ์วิจารณ์ข้อสอบอย่างเผ็ดร้อน เป็นประเด็นดังในสังคมช่วงนึง (แต่ตอนนี้หายไปไหนแล้ววะ?)
เอาเถอะ ช่างแม่งมัน มาดูคะแนนกูเลยดีกว่า
วิจารณ์เป็นรายวิชาดีกว่า
– ภาษาไทย อันนี้ดูเป็นวิชาแจกคะแนนอยู่แล้ว ทำไปเรื่อยๆ เพลินๆ (แต่คะแนนก็ไม่สูงนะ?)
– สังคมศึกษาฯ เจอข้อสอบฝนมันจนมือดำไปแล้ว คะแนนออกมาก็น่าพอใจนะ
– ภาษาอังกฤษ รอดเกินครึ่งก็บุญหนักหนาแล้ว!
– คณฺิตศาสตร์ วิชานี้ถือว่ากินบุญเก่าได้ คะแนนพอเอาตัวรอดไปได้นะ? (แต่เห็นเต็มกันเยอะหนื)
– วิทยาศาสตร์ อันนี้เห็นแล้ว ?ช็อกกันเลยทีเดียว? กูเรียนสายวิทย์แท้ๆ ทำคะแนนได้น้อยกว่าสายศิลป์อีก เหอะๆ
– สุขศึกษาและพลศึกษา เอาตัวรอดจากการถูกข่มขืนได้
– ศิลปะ หลังจากเจอชุดชีเปลือย All in one เข้าไปจนเกือบเซ แต่ก็รอดมาได้
– การงานอาชีพและเทคโนโลยี แปลกใจโคตรๆ ทำไมอันนี้ได้คะแนนสูงเกินชาวบ้านแฮะ หรือว่ากูซักผ้า / ปูโต๊ะบ่อย ฮ่าๆ
เมื่อได้คะแนนตัวนี้แล้ว ลองเอาไปคิดเล่นๆ ในเว็บเด็กเกรียน เด็กดี ดูผลที่ออกมาก็เป็นเช่นนี้
กลุ่ม 6.1 บริหาร พาณิชยศาสตร์ การบัญชี เศรษฐศาสตร์
กลุ่ม 9.1 นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์
กลุ่ม 9.2 นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์
เห็นคะแนนแล้วก็แทบบ้า กลุ่ม 6.1 นี่พอสู้กับคนอื่นได้นะ คิดแล้วก็นั่งนึกว่าคิดถูกหรือคิดผิดว้าที่เอานิเทศฯ ไปแล้ว?
อีกอย่างคือ คิดว่านี่คือผลของการไม่เตรียมตัวเหี้ยอะไรเลย ไม่ได้อ่านหนังสือสักแอะ ได้คะแนนเท่านี้มันก็สาสมแล้ว
สำหรับคนที่รอหวังในรอบแอดมิชชั่นนะครับ ก็ขอให้มีที่เรียนตามที่ฝันทุกคน (ถึงแม้มันจะเป็นไปไม่ได้ก็ตาม?)
ปล.1. สทศ. จะประกาศเว็บที่จะประกาศผลร่วมทำแมวน้ำอะไรครับ ในเมื่อก็ลากเข้าที่เดียว
ปล.2. แล้วลิงก์ที่ทำมา ก็ผิดนะครับ งงตั้งนานทำไมกูดูไม่ได้สักทีวะ!
Tags: onet, มหาวิทยาลัย
หลังจากผ่านช่วงเวลาของกระบวนการในการคัดเลือกมายาวนานกว่า 8 เดือน
ผ่านการสอบและการส่งผลงาน รวมถึงการสัมภาษณ์แล้ว
ก็จบลงเสียทีกับภารกิจนี้
—————————————————————————————
ถ้าจะไล่เรียงภารกิจในการสมัครโครงการรับตรงคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวารสารสนเทศ มันก็จะมีช่วงเวลาดังนี้ครับ
7-8 , 14-15 มีนาคม 2552 – สอบ GAT/PAT รอบที่ 1
15 พฤษภาคม 2552 – ประกาศผลสอบ GAT/PAT รอบที่ 1
16-31 พฤษภาคม 2552 – สมัครสอบวิชาเฉพาะเพิ่มเติม (ความถนัดทางวารสารสนเทศ)
28 มิถุนายน 2552 – สอบความถนัดทางวารสารสนเทศ ที่อิมแพค เมืองทองธานี
11-12 , 18-19 กรกฎาคม 2552 – สอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2
20,22,24 กรกรฎาคม 2552 – สอบกลางภาคเรียนที่ 1
30 กรกฎาคม 2552 – ประกาศผลสอบความถนัดทางวารสารสนเทศ
1-15 สิงหาคม 2552 – ส่งผลงานให้ทางภาควิชาวารสารสนเทศ เพื่อประกอบการพิจารณา
15 สิงหาคม 2552 – ประกาศผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2
18,22,24 กันยายน 2552 – สอบปลายภาคเรียนที่ 1
8-11 ตุลาคม 2552 – สอบ GAT/PAT ครั้งที่ 3
26 ตุลาคม 2552 – ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สมัคร
10 พฤศจิกายน 2552 – ประกาศผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 3
16-30 พฤศจิกายน 2552 – สมัครคัดเลือกโครงการรับตรง
30 ธันวาคม 2552 – ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์
11 มกราคม 2553 – สอบสัมภาษณ์
19 มกราคม 2553 – ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
22 มกราคม 2553 – ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา
(ที่เกี่ยวข้องกับการสอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
นี่ก็เป็นตารางคร่าวๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเรียนนะครับ (ทำไมมันเยอะจังเลยฟร่ะ)
จะว่าไป เวลาที่ผ่านมานี่ก็งงเหมือนกันว่า เราผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร เช่นช่วงสอบ GAT/PAT ครั้งสุดท้ายเป็นอะไรที่โคตรกดดัน กดดันจนถึงที่สุด แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี (มั้ง)
—————————————————————–
เช่นตอนสอบความถนัดฯ ที่อิมแพค จำได้ว่าคนเยอะมาก! ที่ไปสอบด้วยกันนั่งดูเลขที่นั่งสอบแล้วเหมือนจะวิ่งไปจนเกือบๆ 6000 ที่
หมายความว่ามีคนมาสอบตั้ง 6000 คน!
หรือจะเป็นตอนส่งผลงานเข้าไปให้ที่คณะฯ ตรวจสอบ จำได้ว่าก่อนหน้านั้นหัวสมองว่างเปล่ามาก ไม่รู้ว่าจะส่งอะไรไปดี สุดท้ายก็ส่งไปในเช้าวันที่ 15 (วันสุดท้ายที่ให้ส่งผลงานไป) คิดว่าส่งไปงั้นๆ แหละ ไม่คิดว่าจะติดหรอก
แต่ก็ดันมีรายชื่อว่าติดซะงั้น งงกับตัวเองเหมือนกัน
ตอนสอบสัมภาษณ์ ก็เจอเพื่อนที่จะมาสอบสัมภาษณ์ด้วย (ไม่คิดเลยว่าจะเหลือแต่ผู้หญิง หึๆๆๆๆๆๆๆ)
สุดท้ายก็ติดมา 3 คนนี่แหละครับ
ก็คงต้องหวังว่า ชีวิตต่อไปในรั้วจามจุรี ต้องทำให้ดีที่สุด เพื่อความภูมิใจของพ่อแม่พี่น้อง ญาติๆ โรงเรียน
และที่สำคัญที่สุด "ความภูมิใจในตัวเองครับ"
Tags: จุฬา
วันนี้เป็นวันที่สาม วันสุดท้ายของค่ายแล้วครับ?(ว้า อะไรว้า)
วันนี้ตื่นมาประมาณ 7 โมง อาบน้ำเก็บของเตรียมเช็คเอาท์เสร็จประมาณ 7 โมงครึ่ง แล้วก็ลงมากินข้าวเช้า (เย้ วันนี้ได้กินข้าวเช้าแล้ว) เสร็จแล้วก็ไปรวมตัวกันที่ห้องประชุม ตั้งแต่ 7 โมงครึ่งยัน 10 โมงเป็นเวลาที่สนุกสนาน อยากถ่ายรูปกับใคร อยากเล่นอะไร อยากเขียนบันทึกอะไรให้ใคร เต็มที่กันเลย
แบบนี้ก็เสร็จโจรสิครับ หึๆๆๆๆๆๆ
พอถภึงสิบโมงก็เป็นเวลาของพิธีปิด มีการมอบเกรียติบัตร และรางวัลสำหรับกลุ่มที่ได้ ?เหรียญ? มากที่สุด และกลุ่มที่ได้คะแนนโหลตการแสดงมากที่สุด มีการกล่าวปิด และเปิดวีดีโอ (ตามฟอร์ม?)
เสร็จแล้วก็ออกเดินทางไปที่ ?ศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ? ที่อ.สัตหีบครับ (เย้ ได้เห็นทะเลแล้ว?)
ก็ฟังวิทยากรบรรยายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (เห็นหลับเป็นแถบๆ) แล้วก็ไปดูกิจกรรมต่างๆ ทั้งการสร้างบ้านดิน ทั้งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อเอามูลและปัสสาวะ รวมถึงการประยุกต์กิจกรรมต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเกษตร
เมื่อดูเสร็จก็กลับสู่กรุงเทพมหานคร โดยผ่านพัทยาเข้ามอเตอร์เวย์ เข้าทางด่วนลงด่านพระรามสี่เข้าจุดหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
จบการเข้าค่าย 3 วัน 2 คืนครับ
สิ่งที่ได้จากค่ายนี้ก็ได้มากมายทีเดียวทั้ง
– ความรู้จากการเข้าฐาน การอบรม และการเยี่ยมชมงาน
– ความสนุกสนานจากกิจกรรม
– แน่นอนที่สุด ได้เพื่อนมาเพียบครับ ฮ่าๆๆๆๆ (รวมทั้งพี่ๆ ด้วย)
ขอบคุณจริงๆ ครับ?
Tags: เพชรยอดมงกุฎ, เพื่อน, เศรษฐศาสตร์
ตอนแรก อ่านได้ที่นี่
วันที่สองของค่ายครับ ซึ่งวันนี้จะเป็นกิจกรรมการเข้าฐานต่างๆ การแสดง และการสรุปกิจกรรม
วันนี้เริ่มกิจกรรมเวลา 8:15น. ครับ แต่ทว่า?
ตื่นมาปาไปเกือบ 8 โมงแล้วครับ!!! (จริงๆ ตอนแรกก็ตื่นมา รู้สึกตัวนะแต่ก็ไม่ตื่น เพราะคิดว่ามันยังเช้าอยู่หรอก พอหยิบนาฬิกามาดู เฮ้ย ฉิบหายแล้ว) รีบปลุกเพื่อนที่นอนด้วย น้ำไม่ได้อาบ ข้าวเช้าไม่ได้กิน โอ้?
พอไปถึงที่นัดรวมพล แม่ง คนยังมาไม่ครบนี่หว่า (รู้งี้กูไปกินข้าวเช้าซะก็ดี) แล้วก็นัดทำกิจกรรมต่างๆ
ซึ่งฐานต่างๆ มีทั้งหมด 10 ฐานครับ
– Money & Need วางแผนการใช้จ่ายจากสถานการณ์สมมติ โดยมีอาชีพและสิ่งที่ต้องการ (บ้าน/รถ)
– Career Planing วางแผนในการไปสู่อาชีพ
– Tax คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
– Inflation คิดวิธีป้องกันและตั้งรับสถานการณ์เงินเฟ้อ
– Assets & Liabilities คิดคำนวณหาสินทรัพย์ หนี้สิน และ?(อะไรวะ ลืม)
– Funny อันนี้ตามชื่อ เอามันอย่างเดียว
– Risk จัดการความเสี่ยงจากสิ่งที่อาจเกิดขึ้น
– Investment การวางแผนการลงทุน
– LTF RMF เรียนรู้กองทุนทั้งสองประเภท
– Insurance การทำประกันความเสี่ยงต่างๆ
ซึ่งในแต่ละฐานก็ต้องนำ ?เหรียญ? มาเดิมพัน (ลงทุน)ในแต่ละฐาน ถ้าชนะก็จะได้เหรียญเป็นสองเท่าของที่เดิมพัน แต่ถ้าแพ้ก็ไม่ได้อะไรคืน แต่ว่าจะได้รับค่าเข้าฐานฐานละ 3 เหรียญ
ในช่วงเช้าก็ดำเนินกิจกรรมไป 5 ฐานแรกนะครับ
มีความลับจะบอกคือ
– ฐานแรก ลืมคิดค่าผ่อนรถในแต่ละเดือนเข้าไปด้วย เหอะๆ (แต่ดันชนะ)
– ฐานสาม อุตส่าห์คิดซะอย่างดี แต่แม่งผิดตั้งแต่เริ่มแรกเลย กูจะบ้า
– ฐานสี่ ลงไปแค่เหรียญเดียว แพ้เลยไม่เจ็บตัวอะไรมาก
ครบ 5 ฐาน พักกินข้าวกันก่อน แล้วค่อยต่อกันในช่วงบ่าย แต่ก่อนทำกิจกรรมตอนบ่ายก็ได้รับภารกิจ ต้องมีการแสดง โดยจะจับกลุ่มละ 2 สีแสดงด้วยกัน ให้เวลากลุ่มละ 10-20 นาที โดยจะแสดงกันตอนค่ำรอบกองไฟ
เสร็จแล้วก็เข้าฐานต่อ
มีอะไรจะบอกอีกล่ะ
– ฐานหก มึงจะแขวะอะไรกันนักหนาคร้าบ
– ฐานเจ็ด อะไรกัน มีปิดตาด้วย หึๆ
– ฐานเก้า จะกดดันกันไปถึงไหนคร้าบ ตื่นเต้นนะโว้ย
– ฐานสิบ มึงจะลงอะไรกันนักหนาวะ แหม เจ้าบุญทุ่มจริงๆ มีเหรียญมากหน่อยเล่นซะ
เมื่อเข้าฐานครบแล้ว ก็แยกย้ายกันกินข้าวและเริ่มซักซ้อมการแสดงกันไป จนถึงเวลาประมาณทุ่มครึ่งก็เริ่มกิจกรรมรอบกองไฟ(นีออน)
IMG_4732
ทั้งการตั้งวงหาคนแก่ (ฮ่าๆ) วัดสมาธิด้วยคำพูดที่พูดปุ๊บให้ตบมือคนที่นั่งด้วย ทั้งเล่นแป้งด้วย เหอะๆ จนมาถึงการแสดงของแต่ละกลุ่ม
แม้ว่าจะออกมาแป้กไปหน่อย แต่ก็โอเคครับ เหอะๆIMG_4759IMG_4777
เมื่อแสดงจนจบก็เป็นคิวของพี่ๆ ที่มีการแสดงด้วย (แป้กไม่แพ้กัน) IMG_4794IMG_4818
แต่ก็ว่ากันไป เสร็จแล้วก็เป็นการรวมเหรียญที่เล่นได้ใน 2 วัน และเป็นการเปิดเผยบัดดี้ของกันและกัน แลกของกันไป และนัดแนะกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น เสร็จแล้วก็ปิดท้ายด้วยข้าวต้ม (อีกแล้ว)
กิจกรรมของวันที่ 2 ก็จบลงเพียงเท่านี้ โปรดติดตามต่อตอนที่ 3 ตอนจบแล้วจ้า?
ปล1.ตอนตบนี่ เขาให้พูดสามค่อยตบ นี่พูดสี่ตบไม่ยั้งเลย?เจ็บนะจ๊ะ (ว่าแต่ใครวะ อิ่มมั้ง)
ปล2.กูไม่ได้โดนสักหน่อย แล้วมาทากูทำไมเนี่ย?
ปล3.พี่ นัทแกโดนซะเละเลย เหอะๆ (ไม่น่าฆ่ากูเล้ย?)
ปล4.พี่เอ้กับไอ้ กอล์ฟนี่เป็นพี่น้องกันหรือเปล่าเนี่ย?
ปล5.ข้าวต้มกุ้ง แต่หากุ้งไม่เจอสักตัว ห่านมาก
ปล6.(เยอะไปไหม?) คืนนี้จริงๆ มันจะตั้งวงเล่นไพ่กันด้วย แต่รู้สึกกลายเป็นเรื่องผีเรอะ (เห็นมีคนร้องไห้ด้วยหนิ หึๆ)
ปล7.เข้าไปดูรูปเพิ่มได้ที่ฮิห่า ค่ายนะจ๊ะ http://moneymoney2009.hi5.com
Tags: เพชรยอดมงกุฎ, เพื่อน, เศรษฐศาสตร์
เมื่อช่วงก่อนเปิดเทอม 2/52 ผมก็ได้ไปเข้าค่ายเยาวชน My Money Management Camp ที่เป็นรางวัลจากการแข่งขันเศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ : เงินทอง ของมีค่า และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง ซึ่งการเข้าค่ายนั้นจัดที่ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
แน่นอนครับ ได้เข้าค่ายแบบนี้ตอนก่อนเปิดเทอม มันช่างเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นเป็นธรรมดา (เหมือนตั้งตารอวันนี้เลยทีเดียว)
ออกเดินทางห้าทุ่มสิบห้าของวันที่ 13 ตุลาคมครับ ถึงกรุงเทพฯ ก็เช้ามืดวันที่ 14 ตุลาคม ถึงหมอชิตตอนเช้าก็หาซื้อโจ๊กจากเซเว่นมานั่งกินซะ แล้วก็อาบน้ำ ทำธุระให้เรียบร้อย แปลงร่างในชุดนักเรียน แล้วก็ออกเดินทางจากหมอชิตโดนขึ้นรถเมล์(ฟรี)สาย 77 ลงที่ MRT สวนจตุจักร นั่งมาจนถึง MRT ศูนย์ฯสิริกิติ์ เวลาประมาณ 7 โมงครึ่ง
Tags: เพชรยอดมงกุฎ, เพื่อน, เศรษฐศาสตร์
เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา ผมก็ได้ไปแข่งขัน ไซเบอร์ดิก ครอสเวิร์ดเกมชิงแชมป์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2552 ที่ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา ซึ่งเป็นรายการแข่งขันครอสเวิร์ด เอแม็ท คำคม ซูโดกุ รายการใหญ่ที่สุดในภาคอีสานของสมาคมครอสเวิร์ดฯ
แน่นอนครับ อย่างผมเรอะจะไปแข่งครอสเวิร์ด (ศัพท์ภาษาอังกฤษนี่ย่ำแย่) เอแม็ท (อันนี้เคยเล่นแต่ก็ร้างสนามมาไกล) คำคม (มันเล่นยังไงวะ?)
สุดท้ายก็เลยต้องมาแข่ง ซูโดกุ นี่แหละครับ
——————————————
ต้องอธิบายกติกาก่อนว่ามันเป็นยังไง (ส่วนซูโดกุมันคืออะไร แนะนำให้อาจารย์กุ๊กไก่ช่วยนะครับ)
– รอบแรก มีโจทย์ให้ทำ 3 ข้อ ให้เวลา 30 นาที แต่ละข้อจะมีคะแนนแตกต่างกันออกไป ถ้าเสร็จก่อนเวลาสามารถส่งได้ โดยจะมีโบนัสเวลาให้ถ้าทำถูกและส่งก่อนเวลา (คัดเข้ารอบ 5 คน)
– รอบชิงชนะเลิศ แข่งขันกันบนกระดานใหญ่ ให้เวลา 15 นาที ถ้ายังไม่เสร็จต่อเวลาอีก 5 นาที ถ้าไม่มีใครทำเสร็จให้นับช่องที่ทำถูกต้อง
สำหรับรอบแรก ก็มีตารางให้ทั้งหมด 3 ตารางคือ ซูโดกุมาตรฐาน , จิ๊กซอว์ซูโดกุ , ซูโดกุเลขคู่-เลขคี่ (อยากรู้เป็นยังไง อย่าลืมอาจารย์กุ๊กไก่!)
ผมก็ผ่านรอบแรกมาได้โดยได้คะแนนที่สองครับ…
มาถึงรอบชิง ก็มาแข่งขันบนกระดานหน้าเวทีอีกครั้ง
(ย้อนกลับไปหน่อย ปีที่แล้วผมก็เข้าแข่งรายการนี้ แต่ว่าได้ที่ 3 เพราะว่าพลาดในการแข่งขันกระดานใหญ่นี่แหละครับ เติมไม่ครบช่อง)
มาถึงปีนี้ เมื่อแข่งขันไป 15 นาที ไม่มีใครเสร็จ (แต่คนข้างๆ เขาเกือบเสร็จแล้ว) ก็เลยได้ต่อเวลาไปอีก 5 นาที
แข่งไปจนจบ มีคนเสร็จคนเดียว ผมทำไม่เสร็จครับ…ไม่เสร็จร่วมกับคู่แข่งอีก 4 คน
(อ่อ ลืมบอก การแข่งขันนี้เป็นการแข่งระหว่า 2 โรงเรียนคือมารีย์วิทยา (เจ้าถิ่น) กับแก่นนครวิทยาลัย 3:2 มีผมเป็นผู้ชายคนเดียว หึๆ)
สรุป ผมได้ที่ 2 ครับ แก้แค้นสำเร็จกับความผิดหวังในปีที่แล้วที่พลาดไปได้ที่ 3
ที่สำคัญ ได้รู้จักเพื่อนใหม่เพิ่มอีกหลายคนเลย ทั้งรุ่นน้องที่ไปแข่งด้วย ทั้งคนที่ร่วมแข่งขันด้วย
รู้สึกดีจริงๆ ครับ…
Tags: sudoku, ซูโดกุ, แก่นนครวิทยาลัย