ตอนนี้เรื่อง e-payment กับ e-money กลายเป็นกระแสที่ตอนนี้หลายฝ่าย (โดยเฉพาะภาครัฐ) ให้ความสนใจกันมาก ไล่มาตั้งแต่ PromptPay ต่อยอดมา QR PromptPay
จนตอนนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานทางการเงินอื่นๆ ประกาศว่าได้พัฒนาบริการเชื่อมโยงระบบ e-wallet เข้ากับระบบ PromptPay ตั้งแต่ 15 กันยายนที่ผ่านมา
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณในการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และหันมาใช้เงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แล้วยังช่วยลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินเข้า-ออกจาก e-wallet ที่บางเจ้าคิดได้มหาโหดมาก
จากรายชื่อเบื้องต้น มี 10 ธนาคาร บวกกับ 2 ผู้ให้บริการ e-wallet นั่นคือ mPAY กับ TrueMoney นั่นเอง (ล่าสุดเห็นว่า DeepPocket กับ BluePay เปิดให้บริการแล้วเหมือนกัน)
คราวนี้ก็เลยอยากลองของสักหน่อยว่าการโอนเงินเข้าออกมันจะเป็นยังไง ตามประสาหนูลองยา
เบื้องต้นบริการที่เปิดก่อนนั่นคือค่ายเจ้าสัวก่อน แต่ขั้นแรกต้องลงทะเบียนที่แอพ
แล้วก็ไปยืนยันตัวตนที่ตู้ทรูมันนี่ ตามนี้
ส่วนค่ายเขียวนั้น ลงทะเบียนผ่านแอพเหมือนกัน ขั้นตอนเหมือนๆ กัน แล้วไปยืนยันตัวตนที่ AIS Shop (ซึ่งยังไม่ได้ไปลอง)
และเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย ก็จะได้หมายเลข e-wallet 15 หลัก (ซึ่งเป็นรหัสพร้อมเพย์ด้วย) โดย 5 หลักแรกจะเป็นของแต่ละเจ้า ส่วน 10 หลักหลังคือหมายเลขโทรศัพท์ที่ผูกกับ e-wallet ซึ่งของ mPay ขึ้นต้นด้วย 11000 ส่วน TrueMoney ขึ้นด้วย 14000
แน่นอนว่าเมื่อมันกลายเป็นพร้อมเพย์ ก็ย่อมมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ารหัสพร้อมเพย์อื่น ทั้งการโอนเงินเข้าออกแบบทันที ไม่มีค่าธรรมเนียมถ้าไม่เกิน 5,000 บาท และไม่มีขั้นต่ำ
ซึ่งจากการสำรวจพบว่าแอพบนมือถือของหลายธนาคาร มีเมนู “เติมเงินพร้อมเพย์” หรือ “เติมเงิน e-wallet” แล้ว ซึ่งก็สามารถใช้งานได้ทันที
แต่บนหน้าเว็บนี่แหละที่เป็นปัญหา!
เพราะการเติมเงินหรือโอนเงินบนหน้าเว็บ หลายธนาคารต้องเพิ่มผู้ให้บริการก่อน ซึ่งแน่นอนว่าไม่สะดวกสำหรับการโอนรายครั้ง
รวมทั้งเมนู บางธนาคารเอาไปใส่ไว้ใน “เติมเงิน” บางธนาคารใส่ใน “โอนเงิน” บางธนาคารก็ไม่มีเมนูนี้เลย!
ก็คงต้องให้เวลากันต่อไป เพราะมันเป็นแค่การเริ่มต้น
ซึ่งพอลองสรุปเป็นข้อๆ ดู ก็มีข้อน่าสนใจและข้อสังเกตเหมือนกัน
ก็ต้องดูต่อไปว่าโครงการ National e-Payment ของรัฐบาลที่ตั้งอกตั้งใจผลักดันกันจะสำเร็จได้แค่ไหน? จะพัฒนาเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้หรือเปล่า? และความกังวลเรื่องภาษีของหลายๆ คน (ที่ยังไม่กล้าใช้พร้อมเพย์) จะเป็นจริงไหม?
ก็ต้องดูกันต่อไปนะฮะ…
Tags: e-payment