msgbartop
เรื่อยๆ เปื่อยๆ กับ kasemsakk
msgbarbottom

01 มิ.ย. 11 จิตอาสากับการสำเร็จการศึกษา : รูปธรรมหรือของเล่นชิ้นใหม่

“จุฬาฯ ตั้งเป้า 2 ปี สู่ ม.สร้างเสริมสุขภาพ บังคับปี 1 ทำกิจกรรมอาสา บันทึกลงทรานสคริปต์”

“จุฬาฯ ตั้งเป้า 2 ปีสู่ “มหา’ลัยสร้างเสริมสุขภาพ” เต็มตัว อธิการฯ เผย ปีหน้านิสิตปี 1 ทุกคน ต้องเน้นกิจกรรมอาสา อย่างน้อย 10 ชั่วโมง/ปี เป็นเวลา 3 ปี บันทึกลงทรานสคริปต์ หวังกระตุ้นการมีจิตสำนึก+จิตอาสา เตรียมถกหามาตรการหากนิสิตไม่ปฏิบัติตาม จะไม่ให้จบการศึกษาหรือไม่”

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000006624

————————————————————————————————————————————————-

นี่คือหัวข้อข่าวจากเว็บไซต์ข่าวเว็บหนึ่ง ที่ระบุว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะนำเรื่องของการทำกิจกรรม “จิตอาสา” มาบังคับใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2554 โดยจะต้องทำกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมอาสา จำนวน 10 ชั่วโมง/ปี เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีการระบุว่ารูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการรวมกลุ่มกับเพื่อน หรือคณะ หรือมหาวิทยาลัย มีการบันทึกลงในเมื่อสำเร็จการศึกษา

โดยทางอธิการบดีจุฬาฯ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ได้ให้ความเห็นว่า “การบันทึกความดีลงทรานสคริปต์จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการไปสมัครงาน ซึ่งจะทำให้นายจ้างเห็นได้ว่านิสิตนอกจากจะขยันเรียนแล้ว ยังทำประโยชน์ให้แก่สังคมด้วย เพื่อให้สมกับเกียรติภูมิจุฬาฯ คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าจะเป็นปีแรกในการดำเนินการ หากนิสิตคนใดไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดก็อาจจะยังไม่มีการดำเนินการ อะไร แต่จากการหารือร่วมกับคณบดีคณะต่างๆ ในเบื้องต้น มีบางรายได้เสนอว่าหากไม่ถึงอาจจะไม่ให้จบการศึกษา แต่ประเด็นนี้จะเป็นข้อสรุปหรือไม่คงต้องหารือกันต่อไป”

ฟังดูแล้วคำว่า “จิตอาสา” เหมือนจะเป็นคำใหม่ที่ดูแปลกหูสำหรับคนไทย และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย (เหมือนกับคำว่า “โลกร้อน” และ “พอเพียง” ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระแส จนอาจถูกบิดเบือนความหมายออกไป)

แต่เมื่อมองดูแล้ว “จิตอาสา” ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างที่หลายๆ คนคิด แต่มันก็คือการทำกิจกรรมที่ผู้ทำลงไปเป็น “อาสาสมัคร” หรือการ “ทำความดี” นั่นเอง

หากจะอ้างอิงความหมายของ “จิตอาสา” หรือ “อาสาสมัคร” ก็อยากจะอ้างถึงวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ให้ความหมายไว้ว่า “การมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น” และ “การใช้แรงงานและกายทำเพื่อส่วนรวม”

กิจกรรมจิตอาสา หรืออาสาสมัครก็มีให้เห็นอยู่มากมายหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่นในกรณีที่มีเหตุด่วนเหตุร้าย หรือภัยพิบัติต่างๆ เกิดขึ้น ก็จะพบกับกับกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การบริจาคโลหิตเมื่อมีข่าวการขอรับ การลงไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในเหตุภัยพิบัติต่างๆ หรือการแจ้งเบาะแสของโจรผู้ร้ายให้แก่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง

หรือการทำความดีเล็กๆ น้อยๆ เช่นการช่วยจูงเด็กหรือผู้สูงอายุข้ามถนน การให้ที่นั่งผู้อื่นบนรถโดยสาร การทิ้งขยะลงถังก็ถือเป็นการทำความดีเช่นกัน

ล่าสุดที่จุฬาฯ จะนำเอาเรื่องการนับชั่วโมงกิจกรรมมาใช้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในนโยบายที่ทางผู้บริหารต้องการให้นิสิตที่จบออกไปนั้นมีคุณภาพ มีการทำประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ

————————————————————————————————————————————————-

เมื่อมามองในกรณีที่จุฬาฯ จะนำการเก็บชั่วโมงกิจกรรมมาใช้ แน่นอนว่าในทางทฤษฎีนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของตัวนิสิต รวมไปถึงมหาวิทยาลัย

แต่ในทางปฏิบัติ ยังพบข้อปัญหาอีกหลายประการที่จะต้องหาแนวทางในการจัดการให้เป็นมาตรฐานได้

1. การนับจำนวนชั่วโมงกิจกรรม

จุฬาฯ ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการทำกิจกรรมค่อนข้างมาก ทั้งกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมคณะ การรวมกลุ่มของนิสิตด้วยกันเองในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมของนิสิตที่ทำในนาม “สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

– การกำหนดชั่วโมงในแต่ละกิจกรรมจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นหากไปทำค่ายพัฒนาชุมชน 9 วัน จะได้จำนวนชั่วโมงเท่าใด หากทำกิจกรรมภายในคณะ จะนับเป็นชั่วโมงกิจกรรมหรือไม่ หรือแม้กระทั่งไปร่วมงานที่ทางสโมสรนิสิตฯ เป็นผู้จัด จะได้จำนวนชั่วโมงเท่าใด

– จากด้านบน จะให้หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดจำนวนชั่วโมงกิจกรรม จะให้ทางผู้บริหาร คณบดี อาจารย์ หรือนิสิตด้วยกันกำหนดจำนวนชั่วโมงที่จะได้รับ และจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจำนวนชั่วโมงที่ได้รับนั้นเหมาะสมแล้ว

2. ประเภทของกิจกรรม

กิจกรรมประเภทสันทนาการที่จัดขึ้น เช่น กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมสำรวจจุฬาฯ หรือกิจกรรมที่เป็นงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีรับปริญญาบัตร พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ซึ่งไม่มีลักษณะของการเป็นกิจกรรมอาสา จะมีการนับจำนวนชั่วโมงหรือไม่

รวมทั้งหากเป็นกิจกรรมอาสา แต่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มของนิสิตกันไป (ไปทำคนเดียว) จะถือว่าเป็นการทำกิจกรรมอาสาและได้นับจำนวนชั่วโมงหรือไม่

3. มาตรการในการควบคุมการปฏิบัติ

การให้สัมภาษณ์ของอธิการบดี ได้มีการกล่าวถึงการประชุมคณบดี ซึ่งมีคณบดีบางท่านได้ให้ความเห็นว่าอาจมีมาตรการถึงขั้นไม่ให้จบการศึกษาหากปฏิบัติไม่ครบจำนวนชั่วโมง

นี่กลายเป็นว่าการทำ “กิจกรรมอาสา” หรือ “จิตอาสา” ต้องเป็นการบังคับกันแล้วหรือครับ?

ชื่อกิจกรรมก็บอกแล้วว่าเป็น “จิตอาสา” แต่มีการบังคับว่าต้องทำให้ได้เท่านั้นเท่านี้ ดูแล้วมันแปลกๆ นะครับ

และหากมีการกำหนดชั่วโมงออกมา จะมั่นใจได้อย่างไรว่านิสิตได้ไปทำกิจกรรมจริงๆ มีประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ไม่ได้เป็นการทำไปเพื่อหวังชั่วโมง ทำแบบผ่านๆ ไปให้มันพ้นๆ ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง

4. Activity Transcript

ก่อนหน้าที่จะมีการกำหนดนโยบายเรื่องจิตอาสา จุฬาฯ ก็มีการบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ของนิสิตในรูปของ Activity Transcript (A.T.) ซึ่งเมื่อมองแล้วอาจจะบอกได้ว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง (นิสิตบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร และมันมีด้วยหรือ) และประโยชน์ในการนำไปใช้ยังไม่ค่อยมีมากนัก

จึงเป็นที่น่าตั้งคำถามว่า มาตรการเดิมก็มีแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ จะนำมาตรการใหม่มาใช้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ หากมีแนวทางในการปฏิบัติเช่นเดิม

————————————————————————————————————————————————-

หากมองดูแล้ว การนำมาตรการชั่วโมงกิจกรรมมาใช้ในการสำเร็จการศึกษานั้น มองดูแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่ดี

แต่หากกมองอีกมุมหนึ่ง เรื่องของการทำกิจกรรมอาสา เป็นเรื่องของ “จิตสำนึก” ของแต่ละบุคคลที่พึงจะปฏิบัติอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

หากมีการ “ปลูกจิตสำนึก” ในเรื่องของการทำกิจกรรม “จิตอาสา” เป็นพื้นฐานของนิสิตแล้ว ไม่ต้องมีสิ่งใดๆ มาบังคับหรอกครับ ทุกคนก็พร้อมทีจะปฏิบัติอยู่แล้ว

แต่หากใช้การบังคับ จะมั่นใจได้อย่างไรว่ากิจกรรมที่พวกเขาทำนั้น เป็นกิจกรรม “จิตอาสา” ที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง

ไม่เช่นนั้น มันก็อาจเป็นเพียง “ของเล่นชิ้นใหม่” สำหรับผู้บริหารในการสร้างภาพให้ดูดีเท่านั้นเอง…

Tags: ,

17 ก.ค. 10 เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับนิเทศศาสตร์รุ่นที่ 46

ว่างๆ (แหม ว่างจังนะมึง) เลยลองรวบรวมรายชื่อเพื่อนๆ มาเก็บไว้ดู

หลังจากทำก็เก็บสถิติได้หลายอย่างเลย

(สถิติที่เก็บมานี้อ้างอิงจากข้อมูลที่รวบรวมจากผลการคัดเลือกของ สอท. ไม่รวมของโครงการจุฬาฯ ชนบทและพัฒนากีฬาชาติ ดังนั้นข้อมูลอาจไม่ถูกต้อง 100% แต่ก็เชื่อถือได้อยู่หรอกน่า)

  • ปีนี้มีนิสิตใหม่ระดับปริญญาตรีระบบทวิภาค (ภาคไทย) 164 คน ทวิภาค-นานาชาติ (ภาคอินเตอร์) 82 คน (อ้างอิงจาก สทป.สาร)

(ข้อมูลหลังจากนี้จะเป็นข้อมูลของภาคไทยทั้งหมด เพราะกูไม่มีผลของภาคอินเตอร์นะจ๊ะ)

  • นิสิตปีนี้มาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามากที่สุด (27 คน) ตามมาด้วยสตรีวิทยา (9 คน) มาแตร์เดอีวิทยาลัย (8 คน)

ตารางแสดงจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์ในระบบทวิภาคมากกว่า 1 คน

    โรงเรียน จำนวน (คน)
    เตรียมอุดมศึกษา 27
    สตรีวิทยา 9
    มาแตร์เดอีวิทยาลัย 8
    เซนต์โยเซฟคอนเวนต์
    ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
    สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    5
    เบญจมราชาลัย
    ราชินีบน
    หาดใหญ่วิทยาลัย
    4
    จิตรลดา
    เทพศิรินทร์
    บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
    ราชินี
    ศึกษานารี
    สาธิตมศว. ปทุมวัน
    อัสสัมชัญคอนแวนต์
    3
    นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
    นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
    โพธิสารพิทยากร
    โยธินบูรณะ
    วัฒนาวิทยาลัย
    สตรีวิทยา ๒
    สาธิตมศว. ประสานมิตร
    สารวิทยา
    อัสสัมชัญศรีราชา
    2

สังเกตได้ว่าโรงเรียนหญิงล้วนเขามาแรงจริงๆ นะ ทั้งสตรีวิทย์ มาแตร์ เซนต์โย ราชินีบน ราชินี ศึกษานารี อัสสัมชัญคอนแวนต์ วัฒนา แล้วเทียบกัยโรงเรียนชายล้วน หลุดมาเท่าไหร่กันเชียว (ส่วนเตรียมนี่ก็เหมือนโรงเรียนหญิงล้วนละ ในนี้มีผู้หญิงไปแล้ว 23 เหลือ “เพศ”ชาย 4 (ชายแท้ไม่แท้ไม่ทราบได้)

เอ กูลืมไป ช ญ ล้วนใช่ว่าจะเป็น ช ญ แท้นี่หว่า…

  • ในปีนี้มีนิสิตที่ไม่ได้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2552 อยู่ 9 คน (จบปี 2551 8 คน ปี 2550 1 คน)
  • ชื่อเล่นที่มีคนใช้ซ้ำมากที่สุดคือ แนน,มิ้น (3 คน) เจมส์,บอส,บี,พิม,พีท,เฟิร์น,มิ้ม,เอิร์ท (2 คน) (นับจากเสียงนะจ๊ะ เพราะบางคนมันสะกดแปลกๆ เยอะแยะ)
  • ตัวอักษรขึ้นต้นของชื่อจริงที่ซ้ำมากที่สุดคือ อ (18 คน) ก (16 คน) พ (15 คน) ส,ว,ธ (12 คน) จ (10 คน) ช,ณ,ป (8 คน) ภ,ร (7 คน)
  • ในปีนี้มีนิสิตที่ผ่านเข้าศึกษาในระบบรับตรงเพียง 3 คน (รับสูงสุด 10 คน)

เอาเป็นว่าพอแค่นี้ดีกว่า ชักหมดไอเดียที่จะมาเล่นล่ะ…

ถ้าอยากรู้สถิติอะไรเพิ่มเติมก็บอกได้นะเออ เผื่อจะไปนั่งหามาให้…

ว่าแต่ จะสอบ Exp Eng วันที่ 24 แล้วนี่หว่า ทำไมกูยังไม่เตรียมพร้อมอีกวะ?

Tags: , ,

06 ก.ค. 10 พล่ามฉลอง 1 เดือน

เอาล่ะ ไม่ได้เขียนบล็อกมาซะนาน…

ไหนๆ ก็จะครบ 1 เดือนในการเรียนที่สถานศึกษาแห่งใหม่ (ที่แสนจะไกลบ้าน) ก็อยากจะเขียนความรู้สึกที่ผ่านมาตลอดช่วงที่ผ่านมาเลยแล้วกัน

– ตั้งแต่ First Date , สัมภาษณ์ , รับน้องปิ๊ดปิ้ว , เปิดเทอม , ห้องเชียร์ , ทำละคร ก็เหมือนเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ได้รู้จักเพื่อนมากขึ้น ได้คุยมากขึ้น (ถึงแม้บางคนก็ไม่เคยคุยกันเลยก็ตาม)

– ช่วงเวลาแย่ๆ ห่วยๆ ก็ผ่านมาแล้ว ทั้งช่วงห้องเชียร์ (ห้องเชี่ย) ที่บรรยากาศภายในจะบิ้วท์ไปทำซากมะเขืออะไร ไม่เข้าใจจริงๆ มึงสั่งดีๆ กูก็ทำได้ ห่าน!

– กิจกรรมต่างๆ ทั้งคิดท่าเต้นรุ่น , เปิด-ปิดกีฬาเฟรชชี่ รวมทั้งกิจกรรมที่พี่จัดให้ทั้ง เปิดสายปีสอง , รับน้องปีสาม-ปีสี่ ก็ทำให้สนิทสนม(?) กับรุ่นพี่มากขึ้น

– แต่ยังไงๆ อารมณ์เดิมๆ ก่อนที่จะเข้ามาในคณะ กับอารมณ์ตอนนี้ที่ยังเป็นอยู่ก็ยังเหมือนเดิม เบื่อๆ เซ็งๆ ไม่อยากเจอหน้าคนบ้างในบางเวลา

– รู้สึกที่กูเขียนมานี่ไม่มีสาระอะไรเลยแฮะ…

– จบล่ะ เดี๋ยวเอาไว้เขียนต่องวดหน้าที่มีอารมณ์ดีกว่า…

ปล.งวดนี้ไม่มีรูปนะจ๊ะ
ปล2.รูปงานต่างๆ ที่ถ่ายมามีเยอะ แต่ขี้เกียจอัพนะจ๊ะ
ปล3.กูเกลียด Exp Eng!

Tags: ,

04 มิ.ย. 10 อนาคตกางเกงพิธีการ?

บังเอิญว่ายังติดใจกับการแต่งกาย (และยังฉุนกับเรื่องว้าก)
 
ก็เลยลองนั่งหาระเบียบการแต่งกายของจุฬาฯ ไปเรื่อยๆ
 

 
ก็เลยลองเข้าไปดู แล้วก็รู้สึกติดใจกับข้อความนี้…
ข้อ ๖ เครื่องแบบปกติ สำหรับนิสิตชาย
(๑) เสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่มีลวดลาย ไม่รัดรูป กระดุมสีขาว ความยาวของเสื้อให้เลยเอว ให้ใส่ชายเสื้อไว้ในกางเกงตลอดเวลา
(๒) กางเกงขายาวแบบสากล ทำด้วยผ้าสีกรมท่าหรือสีดำ ไม่มันแวววาว ไม่มีลวดลาย ห้ามใช้ผ้ายีน ผ้าสักหลาก ผ้าลูกฟูก
(๓) ถุงเท้าสีดำ สีน้ำตาลเข้ม หรือสีกรมท่า
(๔) รองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ ไม่เปิดหัวรองเท้า
(๕) เข็มขัดหนังสีดำ ขนาดกว้างสามเซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีเงินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างสามจุดห้าเซนติเมตร ยาวห้าเซนติเมตร ดุนเป็นตราพระเกี้ยว ตามแบบของมหาวิทยาลัย
(๖) อาจผูกเนคไทมีตราพระเกี้ยว ตามแบบของมหาวิทยาลัย
 

ข้อ ๑๐ เครื่องแบบงานพิธีการ สำหรับนิสิตชาย
มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติของนิสิตชาย โดยให้ผูกเนคไทมีตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย

จากกฎที่เขียน ก็แสดงว่ากางเกงพิธีการ (สีขาว) ไม่มีบัญญัติไว้ในข้อบังคับนี้!
 
แล้ววันถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ที่ผ่านมา กางเกงขาวนั่นก็ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับนี้สิ!
 
แล้วอนาคตของกางเกงขาว ที่กูเพิ่งซื้อมานั้นจะเป็นอย่างไร?
 
คงต้องติดตามประกาศที่อาจออกมารองรับต่อจากข้อบังคับนี้อย่างใกล้ชิด!
 
ปล.สำหรับนิสิตหญิงก็มีกฎเหมือนกัน แต่กูขี้เกียจพิมพ์ ลองไปอ่านเองแล้วกัน…

Tags:

07 พ.ค. 10 อยากจะบ้า!!!

วันนี้เป็นวันประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2553

หลายคนก็อาจสมหวัง ผิดหวัง ว่ากันไป

แต่ทำไมกูมาตั้งชื่อเรื่องอย่างนี้เรอะ

ไปดูภาพประกอบแล้วกัน?imageimageimage

ถ้าอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ ก็ลงรอบแอดก็จบ?

เซ็งครับ!

แต่ก็เอาเถอะ ได้ที่เรียนก่อนชาวบ้านก็ดีแล้วแหละ?

ให้คนอื่นเขาได้ที่เรียนแหละดีแล้ว ไม่ใช่ไปแย่งที่นั่งชาวบ้านเขา!

เฮ้อ??????????????????????????????????????..

Tags: ,

02 ก.พ. 10 สวัสดี CU

หลังจากผ่านช่วงเวลาของกระบวนการในการคัดเลือกมายาวนานกว่า 8 เดือน

ผ่านการสอบและการส่งผลงาน รวมถึงการสัมภาษณ์แล้ว

ก็จบลงเสียทีกับภารกิจนี้

?สวัสดี CU?

—————————————————————————————

ถ้าจะไล่เรียงภารกิจในการสมัครโครงการรับตรงคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวารสารสนเทศ มันก็จะมีช่วงเวลาดังนี้ครับ

7-8 , 14-15 มีนาคม 2552 – สอบ GAT/PAT รอบที่ 1
15 พฤษภาคม 2552 – ประกาศผลสอบ GAT/PAT รอบที่ 1
16-31 พฤษภาคม 2552 – สมัครสอบวิชาเฉพาะเพิ่มเติม (ความถนัดทางวารสารสนเทศ)
28 มิถุนายน 2552 – สอบความถนัดทางวารสารสนเทศ ที่อิมแพค เมืองทองธานี

11-12 , 18-19 กรกฎาคม 2552 – สอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2
20,22,24 กรกรฎาคม 2552 – สอบกลางภาคเรียนที่ 1
30 กรกฎาคม 2552 – ประกาศผลสอบความถนัดทางวารสารสนเทศ
1-15 สิงหาคม 2552 – ส่งผลงานให้ทางภาควิชาวารสารสนเทศ เพื่อประกอบการพิจารณา

15 สิงหาคม 2552 – ประกาศผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2
18,22,24 กันยายน 2552 – สอบปลายภาคเรียนที่ 1
8-11 ตุลาคม 2552 – สอบ GAT/PAT ครั้งที่ 3
26 ตุลาคม 2552 – ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สมัคร
10 พฤศจิกายน 2552 – ประกาศผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 3
16-30 พฤศจิกายน 2552 – สมัครคัดเลือกโครงการรับตรง
30 ธันวาคม 2552 – ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์
11 มกราคม 2553 – สอบสัมภาษณ์
19 มกราคม 2553 – ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
22 มกราคม 2553 – ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา

(ที่เกี่ยวข้องกับการสอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นี่ก็เป็นตารางคร่าวๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเรียนนะครับ (ทำไมมันเยอะจังเลยฟร่ะ)

จะว่าไป เวลาที่ผ่านมานี่ก็งงเหมือนกันว่า เราผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร เช่นช่วงสอบ GAT/PAT ครั้งสุดท้ายเป็นอะไรที่โคตรกดดัน กดดันจนถึงที่สุด แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี (มั้ง)

—————————————————————–

เช่นตอนสอบความถนัดฯ ที่อิมแพค จำได้ว่าคนเยอะมาก! ที่ไปสอบด้วยกันนั่งดูเลขที่นั่งสอบแล้วเหมือนจะวิ่งไปจนเกือบๆ 6000 ที่

หมายความว่ามีคนมาสอบตั้ง 6000 คน!

IMG_9498

หรือจะเป็นตอนส่งผลงานเข้าไปให้ที่คณะฯ ตรวจสอบ จำได้ว่าก่อนหน้านั้นหัวสมองว่างเปล่ามาก ไม่รู้ว่าจะส่งอะไรไปดี สุดท้ายก็ส่งไปในเช้าวันที่ 15 (วันสุดท้ายที่ให้ส่งผลงานไป) คิดว่าส่งไปงั้นๆ แหละ ไม่คิดว่าจะติดหรอก

IMG_0154 
แต่ก็ดันมีรายชื่อว่าติดซะงั้น งงกับตัวเองเหมือนกัน

ตอนสอบสัมภาษณ์ ก็เจอเพื่อนที่จะมาสอบสัมภาษณ์ด้วย (ไม่คิดเลยว่าจะเหลือแต่ผู้หญิง หึๆๆๆๆๆๆๆ)

สุดท้ายก็ติดมา 3 คนนี่แหละครับ

ก็คงต้องหวังว่า ชีวิตต่อไปในรั้วจามจุรี ต้องทำให้ดีที่สุด เพื่อความภูมิใจของพ่อแม่พี่น้อง ญาติๆ โรงเรียน

และที่สำคัญที่สุด "ความภูมิใจในตัวเองครับ"

Tags: