เข้าสู่ฤดูเปิดเทอมใหม่ทีไร ก็เป็นฤดูกาลของการพูดถึงระเบียบเครื่องแต่งกายสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกครั้ง (ซึ่งมันก็น่าเบื่อนะ) แต่ก็ทำยังไงได้ ในเมื่อคณะของเรายังมีอะไรที่ไม่เหมือนกับชาวบ้านชาวเมืองเขาอยู่
มานั่งไล่ข้อดี – ข้อเสียเลยดีกว่า…
ข้อดี
- เป็นเอกลักษณ์ ใครเห็นก็รู้ว่าเป็นเด็กนิเทศฯ (อาจมีประโยชน์เมื่อพบเจอในสถานที่อื่นๆ นอกเหนือคณะ)
- ดูเรียบร้อย มิดชิด ไม่โป๊
- ถูกข้อบังคับมหาวิทยาลัย ไม่มีปัญหาเมื่อไปคณะอื่น
ข้อเสีย
- จากอดีตที่ผ่านมา มักมีอุบัติเหตุกับผู้หญิง เนื่องด้วยกระโปรงที่ “ยาว” เกินไป เช่น การขึ้น-ลงรถประจำทาง หรือเดินเหยียบกระโปรงตัวเอง (ถึงแม้จะอ้างว่ากระโปรงสั้นขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีเหตุการณ์เหยียบกระโปรงอยู่ หรือว่าจะต้องมีคนตายเพราะเรื่องแบบนี้ก่อนถึงจะคิดได้?)
- เปลืองค่าใช้จ่ายเพราะเมื่อขึ้นปี2 เป็นต้นไป ต้องซื้อทั้งเสื้อ-กางเกง-กระโปรงใหม่หมด (อย่าเถียงว่าใส่ชุดเก่าได้ ในเมื่อช่วงเปิดเทอมก็มีกฎบ้าๆ บอๆ ออกมาหนิ! แล้วความเป็นจริงมีใครอยากใส่ชุดเก่าๆ หลวมๆ ไหม?)
- ในเมื่อทุกคนอยากใส่เสื้อพอดีตัว แล้วจะมาบังคับให้เสียเงินหลายต่อทำไม?
- ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการบังคับที่ “มากเกินไป” เช่น ห้ามพับแขน ผูกไทด์ตลอดเวลา
- ถ้าร้อนมากๆ กูต้องทนด้วยเรอะ?
- หรือสถานการณ์ที่ต้องทำงานที่เลอะเทอะ (เช่น ทาสี หรือกินข้าว) ต้องดั้นด้นหาชุดไปเปลี่ยนเพื่อทำภารกิจนั้นๆ มันจำเป็นด้วย? (แถมเปลืองค่าซักผ้าเพิ่มอีก โดยเฉพาะคนที่อยู่หอและจ้างซํกผ้าที่นับชิ้นผ้าต่อเดือน)
- เกิดความแตกต่างกับคณะอื่น ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและแปลกแยก (อันนี้อาจไม่เป็นข้อเสียชัดเจน แต่อาจจะมี)
สรุป
- ทำไมต้องบังคับเฉพาะเด็กปี1 ให้แต่งกายถูกระเบียบ (ที่ตัวเองตั้ง)
- ระเบียบกลางของมหาวิทยาลัยก็มีแล้ว ทำไมต้องบังคับให้เข้มงวดมากเฉพาะปี1 แต่กลับหย่อนยานกับเด็กปี2 ขึ้นไป ข้อบังคับไม่ได้เขียนนะครับว่าใช้บังคับเฉพาะปี1 (แถมเขาจะเล่นงานเด็กปี2 ขึ้นไปมากกว่าอยู่แล้ว!)
- ความเป็นเอกลักษณ์ของนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในเรื่องเครื่องแต่งกาย ควรมีเฉพาะปี1 เท่านั้นหรือ? ปี2 ขึ้นไปจะใส่เดป เสื้อรัดรูป ปล่อยลอยชาย กระโปรงสั้น หรือใส่ยีนส์มาก็ไม่เป็นอะไร?
- จะบอกว่าเพื่อจะได้รู้ว่าเป็นเด็กคณะเรา บางทีมันก็แทบไม่มีประโยชน์เมื่อรู้เลยนะครับ เราต้องการอะไรจากการแต่งกายแบบนี้หรือ?
- แทนที่จะบังคับเด็กปี1 อย่างเดียว ก็น่าจะเตือนเพื่อนๆ หรือรุ่นพี่บ้างนะครับ อย่าให้เด็กมันตอกกลับแล้วจะกลับบ้านไม่ถูกนะเออ
- อีกอย่าง เวลาไปสอบแล้วโดนคณะอื่นจับเรื่องเครื่องแต่งกายนี่ อย่าเอากฎคณะเราไปอ้างนะฮะ อายเขา…
- หรือถ้าอยากเอาไปอ้างจริงๆ บอกคณะให้ออกประกาศมาสิครับ จะได้เอาประกาศที่มีลายเซ็นคณบดีไปสู้ได้ ไม่งั้นเสียสิทธิ์เรานะครับ!
Tags: นิสิต, นิเทศศาสตร์, เครื่องแต่งกาย
06 เม.ย. 11 ซิ่ว?
ตอนนี้ก็มาถึงช่วงเวลาการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยกันของเด็กม.6 ปีนี้อีกแล้ว
รวมทั้งเด็กที่พลาดหวัง หรือต้องการแก้ตัว ขอคัดเลือกเข้าคณะที่ตัวเองต้องการอีกครั้ง
หลักจากที่ตัวเองหลีกหนีความไม่แน่นอนในอนาคต โดยเลือกคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยวิธีรับตรง (ทั้งๆ ที่กูอุตส่าห์เลือกต่อจากเศรษฐศาสตร์กับบริหาร) แทนที่จะเอาเศรษฐศาสตร์ มธ. ที่เหมือนว่าจะอยากเรียนในคณะนี้มากกว่า แต่ดันอยากไปตลาดสามย่านมากกว่าตลาดไทซะอย่างนั้น (ไม่รู้คิดถูกหรือคิดผิดที่เลือกตลาดสามย่าน เฮ้อ)
———————————————————
หลังจากที่ผ่านไปเกือบ 1 ปี กับคณะนิเทศศาสตร์
ความรู้สึกที่เข้าไปช่วงแรกๆ บอกกับตัวเองเลยว่า “กูจะซิ่วแน่” เพราะสภาพในเทอมแรกที่เข้าไป มันไม่ใช่สิ่งที่คิดไว้กับตอนแรกเลย
รวมทั้งเพื่อน รุ่นพี่ กิจกรรมและวัฒนธรรมบางอย่างที่อยู่ภายใน มันทำให้ไม่มีความสุขเลยที่จะอยู่ในคณะ
พอผ่านมาเทอมสอง เหมือนมันมีอะไรบางอย่างที่บอกกับตัวเองว่า “เฮ้ย มึงไม่ต้องซึ่วหรอกว่ะ”
มันอาจจะเป็นความกลัว อาจจะเป็นความเคยชิน หรืออาจจะเป็นอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความคิดนี้ขึ้นมา
———————————————————
แต่พอเวลาผ่านมาถึงตอนนี้ มีกระแสหลายทางเหลือเกินที่อยากให้กลับไปเริ่มต้นใหม่ในการเรียนมหาวิทยาลัย
กระแสกดดันภายนอกมันส่งผลถึงจิตใจว่า “เอ๊ะ จะเอายังไงกับชีวิตดี”
———————————————————
ไหนๆ ก็ไหนๆ มาดูข้อดีข้อเสียในการซิ่วกับไม่ซิ่วดีกว่า
ซิ่ว
ข้อดี
- กลับไปเริ่มต้นชีวิตปี1 ใหม่ ย้อนไปทำสิ่งที่ไม่ได้ทำ
- ลองตั้งหลักชีวิตตัวเองอีกสักครั้งว่าใช่หรือไม่
- มีโอกาสได้พบกับเพื่อนใหม่ๆ ที่อยู่ต่างคณะ
ข้อเสีย
- ไม่มีหลักประกันว่าหากซิ่วแล้วจะไม่เจอกับปัญหาเดิมๆ (สังคม วัฒนธรรม การเรียน)
- ไม่อยากที่จะเรียกเพื่อนรุ่นเดียวกันว่าพี่ (อันนี้เป็นปัญหางี่เง่าส่วนตัวล้วนๆ)
- หากไปแล้วมันไม่ใช่ อาจทำให้หมดความมั่นใจในการเรียนมหาวิทยาลัยได้
- ไม่อาจกลับไปทำในสิ่งที่อยากทำได้ทุกอย่าง
ไม่ซิ่ว
ข้อดี
- อยู่กับเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้องที่นี่ต่อไป
- ………
ข้อเสีย
- ต้องทนฟังเสียงกดดันจากชาวบ้านไปเรื่อยๆ
- สิ่งที่ได้รับอาจไม่สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้
- เสียโอกาสบางอย่างไปแบบไม่สามารถย้อนกลับมาได้
———————————————————
สรุปสุดท้าย
ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะ
- ความไม่มั่นใจในตัวเอง ว่าตัวเองตัดสินใจดีแล้วหรือไม่ ยังสองจิตสองใจ เสียดายในสิ่งที่ผ่านไปอยู่
- การปรับตัวเอง ที่ไม่ยอมเข้าหาสังคม ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วอยากเข้าไปทำความรู้จัก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงใช้วิธีการหลีกหนีแทน
สุดท้าย คนที่จะตัดสินใจในชีวิตต่อไป คือ ตัวกูเอง
ฉะนั้น เลือกได้แล้วนะโว้ย!!!
Tags: นิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัย, เศรษฐศาสตร์
ว่างๆ (แหม ว่างจังนะมึง) เลยลองรวบรวมรายชื่อเพื่อนๆ มาเก็บไว้ดู
หลังจากทำก็เก็บสถิติได้หลายอย่างเลย
(สถิติที่เก็บมานี้อ้างอิงจากข้อมูลที่รวบรวมจากผลการคัดเลือกของ สอท. ไม่รวมของโครงการจุฬาฯ ชนบทและพัฒนากีฬาชาติ ดังนั้นข้อมูลอาจไม่ถูกต้อง 100% แต่ก็เชื่อถือได้อยู่หรอกน่า)
- ปีนี้มีนิสิตใหม่ระดับปริญญาตรีระบบทวิภาค (ภาคไทย) 164 คน ทวิภาค-นานาชาติ (ภาคอินเตอร์) 82 คน (อ้างอิงจาก สทป.สาร)
(ข้อมูลหลังจากนี้จะเป็นข้อมูลของภาคไทยทั้งหมด เพราะกูไม่มีผลของภาคอินเตอร์นะจ๊ะ)
- นิสิตปีนี้มาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามากที่สุด (27 คน) ตามมาด้วยสตรีวิทยา (9 คน) มาแตร์เดอีวิทยาลัย (8 คน)
ตารางแสดงจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์ในระบบทวิภาคมากกว่า 1 คน
โรงเรียน |
จำนวน (คน) |
เตรียมอุดมศึกษา |
27 |
สตรีวิทยา |
9 |
มาแตร์เดอีวิทยาลัย |
8 |
เซนต์โยเซฟคอนเวนต์
ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
5 |
เบญจมราชาลัย
ราชินีบน
หาดใหญ่วิทยาลัย |
4 |
จิตรลดา
เทพศิรินทร์
บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ราชินี
ศึกษานารี
สาธิตมศว. ปทุมวัน
อัสสัมชัญคอนแวนต์ |
3 |
นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
โพธิสารพิทยากร
โยธินบูรณะ
วัฒนาวิทยาลัย
สตรีวิทยา ๒
สาธิตมศว. ประสานมิตร
สารวิทยา
อัสสัมชัญศรีราชา |
2 |
สังเกตได้ว่าโรงเรียนหญิงล้วนเขามาแรงจริงๆ นะ ทั้งสตรีวิทย์ มาแตร์ เซนต์โย ราชินีบน ราชินี ศึกษานารี อัสสัมชัญคอนแวนต์ วัฒนา แล้วเทียบกัยโรงเรียนชายล้วน หลุดมาเท่าไหร่กันเชียว (ส่วนเตรียมนี่ก็เหมือนโรงเรียนหญิงล้วนละ ในนี้มีผู้หญิงไปแล้ว 23 เหลือ “เพศ”ชาย 4 (ชายแท้ไม่แท้ไม่ทราบได้)
เอ กูลืมไป ช ญ ล้วนใช่ว่าจะเป็น ช ญ แท้นี่หว่า…
- ในปีนี้มีนิสิตที่ไม่ได้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2552 อยู่ 9 คน (จบปี 2551 8 คน ปี 2550 1 คน)
- ชื่อเล่นที่มีคนใช้ซ้ำมากที่สุดคือ แนน,มิ้น (3 คน) เจมส์,บอส,บี,พิม,พีท,เฟิร์น,มิ้ม,เอิร์ท (2 คน) (นับจากเสียงนะจ๊ะ เพราะบางคนมันสะกดแปลกๆ เยอะแยะ)
- ตัวอักษรขึ้นต้นของชื่อจริงที่ซ้ำมากที่สุดคือ อ (18 คน) ก (16 คน) พ (15 คน) ส,ว,ธ (12 คน) จ (10 คน) ช,ณ,ป (8 คน) ภ,ร (7 คน)
- ในปีนี้มีนิสิตที่ผ่านเข้าศึกษาในระบบรับตรงเพียง 3 คน (รับสูงสุด 10 คน)
เอาเป็นว่าพอแค่นี้ดีกว่า ชักหมดไอเดียที่จะมาเล่นล่ะ…
ถ้าอยากรู้สถิติอะไรเพิ่มเติมก็บอกได้นะเออ เผื่อจะไปนั่งหามาให้…
ว่าแต่ จะสอบ Exp Eng วันที่ 24 แล้วนี่หว่า ทำไมกูยังไม่เตรียมพร้อมอีกวะ?
Tags: จุฬา, นิเทศศาสตร์, เพื่อน