msgbartop
เรื่อยๆ เปื่อยๆ กับ kasemsakk
msgbarbottom

17 พ.ค. 12 ข้อดีและข้อเสียของชุดนิสิตปี1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เข้าสู่ฤดูเปิดเทอมใหม่ทีไร ก็เป็นฤดูกาลของการพูดถึงระเบียบเครื่องแต่งกายสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกครั้ง (ซึ่งมันก็น่าเบื่อนะ) แต่ก็ทำยังไงได้ ในเมื่อคณะของเรายังมีอะไรที่ไม่เหมือนกับชาวบ้านชาวเมืองเขาอยู่

 

มานั่งไล่ข้อดี – ข้อเสียเลยดีกว่า…

ข้อดี

  • เป็นเอกลักษณ์ ใครเห็นก็รู้ว่าเป็นเด็กนิเทศฯ (อาจมีประโยชน์เมื่อพบเจอในสถานที่อื่นๆ นอกเหนือคณะ)
  • ดูเรียบร้อย มิดชิด ไม่โป๊
  • ถูกข้อบังคับมหาวิทยาลัย ไม่มีปัญหาเมื่อไปคณะอื่น

ข้อเสีย

  • จากอดีตที่ผ่านมา มักมีอุบัติเหตุกับผู้หญิง เนื่องด้วยกระโปรงที่ “ยาว” เกินไป เช่น การขึ้น-ลงรถประจำทาง หรือเดินเหยียบกระโปรงตัวเอง (ถึงแม้จะอ้างว่ากระโปรงสั้นขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีเหตุการณ์เหยียบกระโปรงอยู่ หรือว่าจะต้องมีคนตายเพราะเรื่องแบบนี้ก่อนถึงจะคิดได้?)
  • เปลืองค่าใช้จ่ายเพราะเมื่อขึ้นปี2 เป็นต้นไป ต้องซื้อทั้งเสื้อ-กางเกง-กระโปรงใหม่หมด (อย่าเถียงว่าใส่ชุดเก่าได้ ในเมื่อช่วงเปิดเทอมก็มีกฎบ้าๆ บอๆ ออกมาหนิ! แล้วความเป็นจริงมีใครอยากใส่ชุดเก่าๆ หลวมๆ ไหม?)
    • ในเมื่อทุกคนอยากใส่เสื้อพอดีตัว แล้วจะมาบังคับให้เสียเงินหลายต่อทำไม?
  • ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการบังคับที่ “มากเกินไป” เช่น ห้ามพับแขน ผูกไทด์ตลอดเวลา
    • ถ้าร้อนมากๆ กูต้องทนด้วยเรอะ?
    • หรือสถานการณ์ที่ต้องทำงานที่เลอะเทอะ (เช่น ทาสี หรือกินข้าว) ต้องดั้นด้นหาชุดไปเปลี่ยนเพื่อทำภารกิจนั้นๆ มันจำเป็นด้วย? (แถมเปลืองค่าซักผ้าเพิ่มอีก โดยเฉพาะคนที่อยู่หอและจ้างซํกผ้าที่นับชิ้นผ้าต่อเดือน)
  • เกิดความแตกต่างกับคณะอื่น ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและแปลกแยก (อันนี้อาจไม่เป็นข้อเสียชัดเจน แต่อาจจะมี)

สรุป

  • ทำไมต้องบังคับเฉพาะเด็กปี1 ให้แต่งกายถูกระเบียบ (ที่ตัวเองตั้ง)
  • ระเบียบกลางของมหาวิทยาลัยก็มีแล้ว ทำไมต้องบังคับให้เข้มงวดมากเฉพาะปี1 แต่กลับหย่อนยานกับเด็กปี2 ขึ้นไป ข้อบังคับไม่ได้เขียนนะครับว่าใช้บังคับเฉพาะปี1 (แถมเขาจะเล่นงานเด็กปี2 ขึ้นไปมากกว่าอยู่แล้ว!)
  • ความเป็นเอกลักษณ์ของนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในเรื่องเครื่องแต่งกาย ควรมีเฉพาะปี1 เท่านั้นหรือ? ปี2 ขึ้นไปจะใส่เดป เสื้อรัดรูป ปล่อยลอยชาย กระโปรงสั้น หรือใส่ยีนส์มาก็ไม่เป็นอะไร?
  • จะบอกว่าเพื่อจะได้รู้ว่าเป็นเด็กคณะเรา บางทีมันก็แทบไม่มีประโยชน์เมื่อรู้เลยนะครับ เราต้องการอะไรจากการแต่งกายแบบนี้หรือ?
  • แทนที่จะบังคับเด็กปี1 อย่างเดียว ก็น่าจะเตือนเพื่อนๆ หรือรุ่นพี่บ้างนะครับ อย่าให้เด็กมันตอกกลับแล้วจะกลับบ้านไม่ถูกนะเออ
  • อีกอย่าง เวลาไปสอบแล้วโดนคณะอื่นจับเรื่องเครื่องแต่งกายนี่ อย่าเอากฎคณะเราไปอ้างนะฮะ อายเขา…
  • หรือถ้าอยากเอาไปอ้างจริงๆ บอกคณะให้ออกประกาศมาสิครับ จะได้เอาประกาศที่มีลายเซ็นคณบดีไปสู้ได้ ไม่งั้นเสียสิทธิ์เรานะครับ!

Tags: , ,

19 ต.ค. 10 ชุดนิสิต

ตอนช่วงปี1 ก็จะมีคำพูดของรุ่นพี่ปีอื่นๆ คอยบอก กรอกหูอยู่ตลอด โดยเฉพาะช่วงต้นเทอม ย้ำแม่งอยู่ตลอดนั่นแหละ (โดยเฉพาะช่วงห้องเชียร์) ว่า

“แต่งกายให้ถูกระเบียบตลอดปีการศึกษา”

มันก็เป็นสิ่งที่ดีนะครับ ที่จะให้นิสิตแต่งกายถูกต้อง

เพราะการแต่งกายที่ถูกต้อง ก็ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และผู้สวมใส่ก็จะดูสง่า เกิดเป็นราศีแก่ตัวเอง

แต่ปัญหามันก็มีอยู่นิดหน่อย เช่น

  • ย้ำแต่ปีหนึ่งอยู่นั่นว่าให้แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบ โดยเฉพาะคำพูดที่ชอบเอามาอ้างว่า “เครื่องแบบพระราชทาน” นำมาใช้ซะบ่อย เพื่อเพิ่มน้ำหนักแก่คำสั่งของตัวเอง
  • จากข้อแรก เมื่อไปลองดูนิสิตปีอื่นๆ ก็อาจจะพบกับการแต่งตัวที่ถูกระเบียบมาก…เสื้อออกนอกกางเกงบ้างล่ะ ขาเดปบ้างล่ะ เสื้อเข้ารูปบ้างล่ะ กระโปรงสั้นๆ บ้างล่ะ
  • เมื่อไปดูในข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยเครื่องแบบ เครื่องหมาย และเครื่องแต่งกายของนิสิต พ.ศ.๒๕๕๓ ก็จะพบว่าข้อบังคับนี้ใช้บังคับกับนิสิตทุกคณะ ทุกชั้นปี (โดยเฉพาะในระดับปริญญาบัณฑิต) แต่ทำไมมาเข้มงวดแต่กับปี1?
  • หรือจะบอกว่าปี1 เพิ่งเข้ามาใหม่ ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบ แล้วยังไงครับ? ขึ้นปี2 มาจะบอกว่าปรับตัวเข้ากับระเบียบได้แล้ว จะแต่งตัวห่าเหวยังไงก็ได้อย่างนั้นเหรอครับ?
  • อีกอย่าง ตามข้อบังคับด้านบน ถ้าแต่ละคณะจะมีเครื่องแบบที่แตกต่างหรือมีเครื่องแบบพิเศษ ก็ให้ออกมาเป็นระเบียบคณะ (ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะออกมารองรับพวกเสื้อช็อป เสื้อกาวน์ อะไรประมาณนี้) แต่ทำไมไม่เห็นทางเว็บจุฬาฯ หรือในราชกิจจานุเบกษาลงประกาศเรื่องนี้สักนิดเลย ต้องไปหาอ่านที่ไหน?
  • ไม่แน่ใจด้วยว่าระเบียบด้านบน รองรับถึงเครื่องแบบนิสิตปกติที่แต่ละคณะจะบังคับด้วยหรือเปล่า ถ้ารองรับด้วยทำไมไม่มีประกาศของแต่ละคณะออกมาล่ะ? มีแต่กฎหมู่ของรุ่นพี่ออกมาใช้บังคับอยู่นั่นแหละ…

หวังว่าคงจะหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้นได้นะ…

Tags: ,