เวอร์ชั่นสั้น สำหรับคนขี้เกียจอ่านอะไรยาวๆ
ในปัจจุบันหากใครเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และต้องการใช้เงินสดสกุลเงินต่างประเทศเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็มักจะมีทางเลือกเช่นการแลกธนบัตรสกุลนั้นๆ หรือใช้บัตรเครดิตในการชำระเงิน ซึ่งก็มักจะมีปัญหาต่างๆ เช่น
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารกรุงไทยก็ได้เปิดตัว Krungthai Travel Card ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสำหรับนักเดินทาง รวมถึงนักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ โดยบัตรดังกล่าวมีจุดเด่นเช่น
วิธีการสมัคร
ด้านวิธีการสมัครนั้น จะต้องมีบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวันกับกรุงไทยเสียก่อน และสามารถไปสมัครบัตรได้ที่ทุกสาขาของธนาคาร ซึ่งผมไม่เคยมีบัญชีกับกรุงไทยมาก่อน ก็เลยต้องเปิดบัญชีก่อนค่อยสมัครบัตร และทางธนาคารจะให้เรากำหนดรหัสบัตร 6 หลักเอง ซึ่งรหัสสามารถเปลี่ยนได้ที่ตู้เอทีเอ็มของกรุงไทยในภายหลังได้ โดยบัตรมีอายุ 2 ปี
ตัวบัตรจากการตรวจสอบ BIN พบว่าเป็น Visa Prepaid มีการปั๊มหมายเลขนูนลักษณะเหมือนบัตรเครดิต ส่วนชื่อที่ปั๊มบนบัตรเขียนว่า KRUNGTHAI TRAVEL ตัวบัตรยังมีเทคโนโลยี Visa PayWave เพื่อชำระผ่านเครื่องที่รองรับ NFC รวมถึงยังรองรับเทคโนโลยี Chip & PIN อีกด้วย
การใช้งานผ่านแอพพลิเคชัน netbank
จากรายละเอียดด้านบน การแลกเปลี่ยนเงิน ขายคืน ตรวจสอบยอด เปิดปิดการใช้บัตร สามารถดำเนินการผ่านแอพ KTB netbank (หรือชื่อใหม่ตามการรีแบรนด์อย่าง Krungthai netbank) โดยภายในแอพจะมีเมนู Travel card แยกออกมาต่างหาก
ซึ่งเมื่อกดเข้าไปจะพบหน้าจอแสดงสกุลเงินทั้ง 7 สกุลที่สามารถแลกได้ และมียอดคงเหลือของแต่ละสกุล เมื่อกดเข้าไปก็จะพบรายละเอียดต่างๆ ทั้งยอดเงินที่เหลือ วันทำรายการ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น รวมถึงการดูรายการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลังได้ 3 เดือนอีกด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถเปิด-ปิดการใช้งานบัตรได้ตลอดเวลา ซึ่งสามารถเปิด-ปิดได้ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง
สำหรับการซื้อขายนั้น ก็สามารถทำผ่านแอพได้ทันที โดยการกดปุ่มที่อยู่ด้านล่าง โดยสามารถซื้อได้ขั้นต่ำ 1 หน่วยของสกุลเงินนั้นๆ (โดยสามารถซื้อได้ถึงหน่วยทศนิยม 2 หลัก เช่น 1.01 หรือ 9.99) โดยเลือกบัญชีกรุงไทยต้นทาง และใส่จำนวนเงินที่ต้องการ โดยสามารถแจ้งผลการแลกเงินผ่านอีเมลและใส่บันทึกช่วยจำได้
ซึ่งเมื่อแลกเงิน (หรือในแอพคือการโอนเงิน) ก็จะมีการเก็บรูปภาพไว้เป็นหลักฐานในเครื่อง และสามารถใช้เงินได้ทันที ส่วนการขายคืนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เงินที่แลกไว้จะไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่อย่างใด เนื่องจากเก็บไว้ในรูปแบบบัญชีกระแสรายวัน
การใช้งานบัตร
Travel Card สามารถใช้งานได้ใน 3 รูปแบบ คือ
โดยมีวงเงินกดเงินสดไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน และวงเงินซื้อสินค้าผ่านเครื่องรูดบัตรหรือออนไลน์ไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน และสามารถแลกเงินเก็บไว้ได้สูงสุด 1,000,000 บาท โดยวงเงินทั้งหมดคิดจากทุกสกุลเงินรวมกันเทียบในอัตราเงินบาท
อัตราแลกเปลี่ยน
มาถึงจุดสำคัญ นั่นคืออัตราแลกเปลี่ยนว่าจะดีกว่าร้านแลกเงินทั่วไป หรือธนาคารจริงหรือเปล่า
ผมขอเทียบกับร้านแลกเงินชื่อดังย่านประตูน้ำ ที่ขึ้นชื่อว่ามีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด แถมขยายสาขาไปหลายแห่ง (รวมถึงใต้สนามบินสุวรรณภูมิก็มี) อย่าง Superrich Thailand ก็พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของ Travel Card ถือว่าสูสี และอาจดีกว่าในหลายๆ สกุล อีกทั้งยังไม่มีถูกลดอัตรากรณีเป็นธนบัตรย่อยด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนต่างอัตราซื้อขายของ Travel Card จะอยู่ในกรอบแคบๆ สูงสุดไม่เกิน 4 สตางค์ ขณะที่ร้านแลกเงินอาจมีส่วนต่างสูงถึง 25 สตางค์
การเก็งกำไร(!?)
มาถึงตรงนี้ บางคนอาจมองว่าสามารถใช้ช่องทางนี้ในซื้อขายเพื่อการเก็งกำไรค่าเงินที่สะดวก ไม่ต้องเก็บเงินสดจริงๆ และสามารถแลกคืนได้ตลอด อย่างไรก็ตามด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไม่บ่อยครั้งนัก ก็อาจไม่เหมาะกับนักเก็งกำไรเป็นชีวิตมากนัก รวมถึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อีกด้วย
ค่าธรรมเนียม
อย่างไรก็ตาม ได้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมออกบัตร / การถอนเงิน / สอบถามยอด / ขายเงินคืน จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561
สรุป
จุดเด่น
ข้อสังเกต
Krungthai Travel Card ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ออกเป็นธนาคารแรกของไทย และยอมรับว่าไม่คาดคิดว่ากรุงไทยจะออกผลิตภัณฑ์นี้มาเป็นธนาคารแรก น่าจะเป็นธนาคารสีเขียว สีม่วง หรือสีน้ำเงินก่อนมากกว่า (แต่หากจะว่าไป กรุงไทยก็สู้ในสมรภูมิร้านรับแลกเปลี่ยนเงินใต้สนามบินเหมือนกัน ไม่เชื่อลองไปสำรวจอัตราแลกเปลี่ยนที่สาขาแอร์พอร์ตลิงก์สุวรรณภูมิได้) ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทดแทนการถือเงินสดไปใช้จ่ายในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่รับบัตรเครดิตโดยทั่วไป ลดปัญหาเศษเหรียญที่ไม่สามารถแลกคืนได้หรือธนบัตรย่อยที่ถูกกดราคา อีกทั้งอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในขณะนี้ที่มีโปรโมชั่นออกบัตรฟรีด้วย
แต่หากต้องการนำบัตรไปใช้เพื่อกดเงินสดที่ประเทศปลายทาง ก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนัก เนื่องจากยังมีค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดเช่นเดียวกับการนำบัตรเดบิตในประเทศไปกดเงินที่ต่างประเทศอยู่
ใครมีแผนเดินทางต่างประเทศ อย่างน้อยๆ ไปรับบัตรมาก่อน ก่อนตัดสินใจใช้ในการท่องเที่ยวต่างประเทศก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด
Tags: กรุงไทย, ท่องเที่ยว, ธนาคาร
สรุปสำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านคนบ่นอะไรก็ไม่รู้…
หลังจาก ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ขายกิจการรายย่อยให้กับ ธ.ทิสโก้ ลูกค้าอย่างผมก็ต้องย้ายบัญชีตามไปกับเขาด้วย จะไปฝืนก็ไม่ได้หนะนะ
ไอ้เราก็ทำเรื่องอะไรเรียบร้อยตั้งแต่เดือนกันยา ได้สมุดบัญชี 2 เล่มของทิสโก้พร้อมบัตรเดบิต แต่ก็ยังต้องรอวันที่ 2 ตุลาถึงจะใช้งานอะไรได้
พอมาวันที่ 2 ตุลา ก็ไปที่ทิสโก้สาขาห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านสยาม (บอกชื่อไปเลยไหม!) ไปถึงประมาณทุ่มนิดๆ ตามคาด คนล้นออกมานอกสาขา (เพราะเป็นธนาคารเล็กๆ ที่นั่งไม่มากเท่าไหร่) แต่คิดว่าแค่มาปรับสมุดกับสมัคร Mobile Banking ไม่น่านาน เสร็จแล้วค่อยไปกินข้าว
แต่ระบบคิวชวนงงมาก เพราะทุกคิว ทุกธุรกรรม เรียกไปที่เคาท์เตอร์ 1-2 หมด อาจเข้าใจได้ว่าแบงก์ใกล้ปิดแล้วเลยเปิดแค่นั้น แต่โอ้โห พนักงานประมาณ 5-6 คน อยู่เคาท์เตอร์ 2 หน้าเคาท์เตอร์คอยเรียกคิวกับวิ่งไปมาอีก 2 ยืนกดมือถือตรงโต๊ะฝั่งเปิดบัญชีอีก 2 คน ทำงานก็แบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ มาก ความกระตือรือล้นแทบเป็นศูนย์ ลูกค้าก็นั่งรอไป
ทุ่มครึ่งก็แล้ว ทุ่มสี่สิบห้าก็แล้ว สองทุ่มก็แล้ว คิวไม่มีวี่แววจะใกล้ เลยย้ายไปนั่งตรงโต๊ะฝั่งเปิดบัญชี พอสักสองทุ่มสิบกว่าๆ เหลือบไปเห็นที่โต๊ะมีคนถามว่าเปิด Mobile Banking ยังไง แล้วพนักงานก็ทำให้เลย เหลือบไปดูบัตรคิว อ้าว คิวหลังกูอีก 2-3 คิวเลยหนิ
ปรี๊ดแตกสิ รอมาเป็นชั่วโมง ข้าวก็ไม่ได้กิน แล้วคิวที่กดมาจะกดทำไม?
เลยถามพนักงานไปว่า “สมัคร Mobile Banking ไม่ต้องรอบัตรคิวเหรอ” (น้ำเสียงหงุดหงิด ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยหงุดหงิดใส่ชาวบ้านแบบต่อหน้านะ) พนักงานก็ตอบมาประมาณว่าคิวมันแยกออกจากกัน (อ้าว!?) แต่ก็สมัครได้เลย (ยังไง?) พนักงานก็ขอบัตรประชาชน (ไปสองคน แต่ขอคนเดียว เอาสิ) พร้อมสมุดบัญชีอีก 4 เล่ม (โดยไม่ถามอะไรสักคำ) แล้วก็เชิญไปที่เคาท์เตอร์ขวาสุดเพื่อนั่งรอต่อไป
สักพัก ก็เอาใบสมัครมาให้เซ็น แล้วก็ให้กรอกเบอร์มือถือ เลขบัตรประชาชน และเลขบัญชี…
แต่ สมุดบัญชีก็อยู่กับพนักงาน แถมเลขบัญชีทิสโก้ดันไม่เหมือนธนาคารหลักๆ ใครจะไปจำได้ล่ะ? พนักงานเลขเอาสมุดบัญชีมาให้กรอก แล้วก็บอกว่ารอรหัส OTP ที่จะส่งมาให้ แล้วก็หายไป…
สักพักพอประมาณ ค่อยมาถามว่าได้ OTP ยัง ให้เอาไปกรอกในแอพเพื่อลงทะเบียนเลย แหม่ ไม่บอกตอนรหัสหมดอายุเลยล่ะ? พอตอนสมัครก็ให้ใช้ User มีเลข Password มีอักขระพิเศษ แต่ในระบบไม่เห็นบอกเลย ทำไมต้องเชื่อพนักงานล่ะ? แล้วดันใช้ได้ด้วยนะ…
แล้วพอจะสมัครคนที่สองก็ต้องให้ถามว่าสมัครยังไง ค่อยขอบัตรประชาชนไปทำให้ (นี่ไม่คิดจะถามเลยสินะ) พอตอนรอ OTP รอซะนาน นานขนาดพนักงานมาถามรอบที่ 3 ถึงส่งมาให้
แล้วพนักงงานท่านก็เอาสมุดบัญชีไปดองไว้ที่ไหนก็ไม่รู้ กว่าจะได้สมุดคืนจนออกจากธนาคาร ปาไปเกือบสองทุ่มครึ่ง…ชั่วโมงกว่าๆ ไม่ได้เหี้ยอะไรเลย ประทับใจสุดๆ พอดีกับ SCB ขยายวงเงินบัญชีออมทรัพย์อีซี่เป็น 2 แสนพอดี จะรอช้าอยู่ใย ย้ายสิฮะ!
บ่นแบบไม่รู้เรื่องมาตั้งนาน มาสรุปข้อสังเกตดีกว่า
สรุป ข้อเตือนใจสำคัญของเรื่องนี้ คือ เดินเข้าไปถามพนักงานเลยถ้ามันนานเกินควร และ อย่าไปทำธุรกรรมการเงินในวันแรกๆ
เพราะมันจะมีเรื่องน่าหงุดหงิดแบบนี้แหละ!
ส่วนตอนนี้ก็ขอย้ายเงินออกไปก่อนนะจ๊ะ ไว้อารมณ์ดีๆ ค่อยกลับมาใหม่แล้วกันนะ
เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จัก ME by TMB บริการบัญชีเงินฝากรูปแบบใหม่แล้วนะครับ
ถ้ายังไม่ทราบ หลักการคือเป็นบัญชีที่ไม่มีสมุด ไม่สามารถทำรายการเคาท์เตอร์ได้ ไม่สามารถถอนเงินสดจากบัญชีตรงๆ ได้ เวลาทำรายการทำผ่านเครื่องหรือออนไลน์ทั้งหมด (มีโทรศัพท์ด้วย)
ทีนี้เวลาจะทำการเปิดบัญชี ก็ต้องมีสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารใดก็ได้มาผูกกับบัญชีนี้ เพื่อใช้สำหรับโอนเงินเข้า-ออกจากบัญชี
ปัญหาคือเขาต้องการสมุดบัญชีเงินฝากนะสิ (ถึงแม้ภายหลังจะเพิ่ม Statement ด้วย) ถ้าบัญชีไม่มีสมุดล่ะ?