เวอร์ชั่นสั้น สำหรับคนขี้เกียจอ่านอะไรยาวๆ
ในปัจจุบันหากใครเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และต้องการใช้เงินสดสกุลเงินต่างประเทศเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็มักจะมีทางเลือกเช่นการแลกธนบัตรสกุลนั้นๆ หรือใช้บัตรเครดิตในการชำระเงิน ซึ่งก็มักจะมีปัญหาต่างๆ เช่น
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารกรุงไทยก็ได้เปิดตัว Krungthai Travel Card ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสำหรับนักเดินทาง รวมถึงนักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ โดยบัตรดังกล่าวมีจุดเด่นเช่น
วิธีการสมัคร
ด้านวิธีการสมัครนั้น จะต้องมีบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวันกับกรุงไทยเสียก่อน และสามารถไปสมัครบัตรได้ที่ทุกสาขาของธนาคาร ซึ่งผมไม่เคยมีบัญชีกับกรุงไทยมาก่อน ก็เลยต้องเปิดบัญชีก่อนค่อยสมัครบัตร และทางธนาคารจะให้เรากำหนดรหัสบัตร 6 หลักเอง ซึ่งรหัสสามารถเปลี่ยนได้ที่ตู้เอทีเอ็มของกรุงไทยในภายหลังได้ โดยบัตรมีอายุ 2 ปี
ตัวบัตรจากการตรวจสอบ BIN พบว่าเป็น Visa Prepaid มีการปั๊มหมายเลขนูนลักษณะเหมือนบัตรเครดิต ส่วนชื่อที่ปั๊มบนบัตรเขียนว่า KRUNGTHAI TRAVEL ตัวบัตรยังมีเทคโนโลยี Visa PayWave เพื่อชำระผ่านเครื่องที่รองรับ NFC รวมถึงยังรองรับเทคโนโลยี Chip & PIN อีกด้วย
การใช้งานผ่านแอพพลิเคชัน netbank
จากรายละเอียดด้านบน การแลกเปลี่ยนเงิน ขายคืน ตรวจสอบยอด เปิดปิดการใช้บัตร สามารถดำเนินการผ่านแอพ KTB netbank (หรือชื่อใหม่ตามการรีแบรนด์อย่าง Krungthai netbank) โดยภายในแอพจะมีเมนู Travel card แยกออกมาต่างหาก
ซึ่งเมื่อกดเข้าไปจะพบหน้าจอแสดงสกุลเงินทั้ง 7 สกุลที่สามารถแลกได้ และมียอดคงเหลือของแต่ละสกุล เมื่อกดเข้าไปก็จะพบรายละเอียดต่างๆ ทั้งยอดเงินที่เหลือ วันทำรายการ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น รวมถึงการดูรายการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลังได้ 3 เดือนอีกด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถเปิด-ปิดการใช้งานบัตรได้ตลอดเวลา ซึ่งสามารถเปิด-ปิดได้ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง
สำหรับการซื้อขายนั้น ก็สามารถทำผ่านแอพได้ทันที โดยการกดปุ่มที่อยู่ด้านล่าง โดยสามารถซื้อได้ขั้นต่ำ 1 หน่วยของสกุลเงินนั้นๆ (โดยสามารถซื้อได้ถึงหน่วยทศนิยม 2 หลัก เช่น 1.01 หรือ 9.99) โดยเลือกบัญชีกรุงไทยต้นทาง และใส่จำนวนเงินที่ต้องการ โดยสามารถแจ้งผลการแลกเงินผ่านอีเมลและใส่บันทึกช่วยจำได้
ซึ่งเมื่อแลกเงิน (หรือในแอพคือการโอนเงิน) ก็จะมีการเก็บรูปภาพไว้เป็นหลักฐานในเครื่อง และสามารถใช้เงินได้ทันที ส่วนการขายคืนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เงินที่แลกไว้จะไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่อย่างใด เนื่องจากเก็บไว้ในรูปแบบบัญชีกระแสรายวัน
การใช้งานบัตร
Travel Card สามารถใช้งานได้ใน 3 รูปแบบ คือ
โดยมีวงเงินกดเงินสดไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน และวงเงินซื้อสินค้าผ่านเครื่องรูดบัตรหรือออนไลน์ไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน และสามารถแลกเงินเก็บไว้ได้สูงสุด 1,000,000 บาท โดยวงเงินทั้งหมดคิดจากทุกสกุลเงินรวมกันเทียบในอัตราเงินบาท
อัตราแลกเปลี่ยน
มาถึงจุดสำคัญ นั่นคืออัตราแลกเปลี่ยนว่าจะดีกว่าร้านแลกเงินทั่วไป หรือธนาคารจริงหรือเปล่า
ผมขอเทียบกับร้านแลกเงินชื่อดังย่านประตูน้ำ ที่ขึ้นชื่อว่ามีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด แถมขยายสาขาไปหลายแห่ง (รวมถึงใต้สนามบินสุวรรณภูมิก็มี) อย่าง Superrich Thailand ก็พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของ Travel Card ถือว่าสูสี และอาจดีกว่าในหลายๆ สกุล อีกทั้งยังไม่มีถูกลดอัตรากรณีเป็นธนบัตรย่อยด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนต่างอัตราซื้อขายของ Travel Card จะอยู่ในกรอบแคบๆ สูงสุดไม่เกิน 4 สตางค์ ขณะที่ร้านแลกเงินอาจมีส่วนต่างสูงถึง 25 สตางค์
การเก็งกำไร(!?)
มาถึงตรงนี้ บางคนอาจมองว่าสามารถใช้ช่องทางนี้ในซื้อขายเพื่อการเก็งกำไรค่าเงินที่สะดวก ไม่ต้องเก็บเงินสดจริงๆ และสามารถแลกคืนได้ตลอด อย่างไรก็ตามด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไม่บ่อยครั้งนัก ก็อาจไม่เหมาะกับนักเก็งกำไรเป็นชีวิตมากนัก รวมถึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์อีกด้วย
ค่าธรรมเนียม
อย่างไรก็ตาม ได้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมออกบัตร / การถอนเงิน / สอบถามยอด / ขายเงินคืน จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561
สรุป
จุดเด่น
ข้อสังเกต
Krungthai Travel Card ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ออกเป็นธนาคารแรกของไทย และยอมรับว่าไม่คาดคิดว่ากรุงไทยจะออกผลิตภัณฑ์นี้มาเป็นธนาคารแรก น่าจะเป็นธนาคารสีเขียว สีม่วง หรือสีน้ำเงินก่อนมากกว่า (แต่หากจะว่าไป กรุงไทยก็สู้ในสมรภูมิร้านรับแลกเปลี่ยนเงินใต้สนามบินเหมือนกัน ไม่เชื่อลองไปสำรวจอัตราแลกเปลี่ยนที่สาขาแอร์พอร์ตลิงก์สุวรรณภูมิได้) ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทดแทนการถือเงินสดไปใช้จ่ายในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่รับบัตรเครดิตโดยทั่วไป ลดปัญหาเศษเหรียญที่ไม่สามารถแลกคืนได้หรือธนบัตรย่อยที่ถูกกดราคา อีกทั้งอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในขณะนี้ที่มีโปรโมชั่นออกบัตรฟรีด้วย
แต่หากต้องการนำบัตรไปใช้เพื่อกดเงินสดที่ประเทศปลายทาง ก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนัก เนื่องจากยังมีค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดเช่นเดียวกับการนำบัตรเดบิตในประเทศไปกดเงินที่ต่างประเทศอยู่
ใครมีแผนเดินทางต่างประเทศ อย่างน้อยๆ ไปรับบัตรมาก่อน ก่อนตัดสินใจใช้ในการท่องเที่ยวต่างประเทศก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด
Tags: กรุงไทย, ท่องเที่ยว, ธนาคาร
16/3/52
– ตื่นนอน ดูทีวี อาบน้ำ ซักผ้า
– ออกจากห้อง (9.40)
– นั่งรถเมล์ 104 ถึงสวนจตุจักร
– นั่งใต้ดินไปศูนย์วัฒนธรรมฯ (เอสพละนาด)
– เดินเล่นที่เอสพละนาด
– ลงใต้ดินไปสุขุมวิท
– ขึ้นบีทีเอสไปสยาม
– เข้าสยามเซนเตอร์ กิน DQ
– ไปเตรียมอุดมศึกษา หา @framekung
– ไปที่ RedMango
– แยกกับ @framekung ไปที่ทรูคอฟฟี่ สยามซอย3
– สั่งช็อกโกแลตเย็น แล้วขึ้นไปชาร์ตไอโฟน นอนเล่นด้วย
– ออกไปที่มาบุญครอง
– ขึ้นบีทีเอสจากสยามไปพญาไท
– ไปที่อาคารวรรณสรณ์ (อุ๊แลนด์) เจอ@vvee
– นั่งรถไฟฟ้าจากพญาไทไปอโศก
– นั่งใต้ดินจากสุขุมวิทไปพระรามเก้า
– เข้าฟอร์จูนทาวน์ ไปโลตัส
– กินข้าวที่ KFC
– นั่งใต้ดินจากพระรามเก้าไปพหลโยธิน
– ขึ้นรถเมล์ 104 ที่หน้าเซ็นทรัลลาดพร้าว (ตอนแรกไปรอที่สวนสมเด็จย่าฯ มิน่าทำไมไม่มาสักที)
– ถึงหน้าโรงงานโตชิบา ข้ามถนนขึ้นมอไซค์เข้าหอ
– ถึงห้อง…
17/3/52
– ตื่นตอน 11.30 อาบน้ำ เตรียมของ
– ขึ้นรถเมล์ 90 ลงสะพานควาย (อ้อมชิบ)
– ขึ้นบีทีเอสจากสะพานควายไปสยาม
– ไปที่เซ็นทรัลเวิลด์ ไปที่ iStudio
– เดินต่อไปยัง Loft Siam Discovery
– ต่อรถไฟฟ้าไปที่ศาลาแดง เพื่อไปใต้ดินศูนย์วัฒนธรรมฯ
– ถึงเอสพละนาด ไปที่เอ็มเค (อยากกิสบุฟเฟ่ต์สุกี้)
– ไปถึงต้องไปรอคิว เลยขึ้นไปที่ห้องสมุดมารวย ไปชาร์ตแบตไอโฟนรอ
– ถึงคิวแล้วก็นั่งกิน กิน กิน
– เดินออกจากเอสพละนาดไปฟอร์จูน ไปหาซื้อแฟลชไดรฟ์
– ได้ตัว Sandisk Extreme Cruzet Contour 4GB ในราคา 560 บาท
– นั่งรถใต้ดินจากพระรามเก้าไปสุขุมวิท แล้วต่อไปท่สยาม
– เดินเล่น กิน Ice Monster
– นั่งรถจากสยามไปสะพานควาย แวะเข้าห้องน้ำที่บิ๊กซี
– นั่งรถจากบิ๊กซีไปหมอชิต แล้วต่อ 104 มาที่หอ
– ถึงหอ เหนื่อย
18/3/52
– ออกจากหอบ่ายโมงกว่าๆ
– ขึ้นรถตู้ไปลงที่พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน ต่อรถเมล์ (ผิดสาย) แล้วต่อรถตู้ถึงสวนจตุจักร ขึ้นบีทีเอสต่อไปที่สยาม
– จากสยามเดินไปเซ็นทรัลเวิลด์ ไปที่ iStudio by Copperwired
– เดินไปริมคลองแสนแสบ กินก๋วยเตี๋ยวเรือร้านลุง
– เดินกลับมาเซ็นทรัลเวิลด์
– ซื้อ SwitchEasy Colors ราคา 800 บาท
– แวะกินมอสเบอร์เกอร์
– แวะกินโพลาร์ไอซ์
– เดินเล่นที่พารากอน
– ขึ้นบีทีเอสไปลงหมอชิต
– ขึ้นรถเมล์ 104 ลงหน้าปากซอย
– ถึงหอ
19/3/52
– ตื่นมา เปิดทีวีดูอภิปราย (โคตรเซ็ง)
– ลงไปกินผัดซีอิ้วใต้หอ
– ขึ้นรถ 104 ลงรถใต้ดินพหลโยธิน ไปศูนย์ฯสิริกิติ์
– ถึงศูนย์ฯสิริกิติ์ เดินเข้าไปในคอมมาร์ต
– แวะไปดูงานลดราคาของอาดิดาส ได้เสื้อ+ถุงเท้ามา
– เดินในคอมมาร์ตไปเรื่อยๆ
– เดินเสร็จก็กินข้าวในศูนย์อาหารของศูนย์ฯสิริกิติ์
– ลงไปใต้ดินสถานีศูนย์ฯสิริกิติ์ แล้วเดินขึ้นมาใหม่
– รอรถเมล์นานเกือบครึ่งชั่วโมง
– นั่งรถเมล์สาย 136 ปลายทางหมอชิต (ใช้เวลาชั่วโมงกว่าๆ)
– มาซื้อตั๋วรถทัวร์ช่วงสงกรานต์ให้พี่
– นั่งรถสาย 104 จากหมอชิตมายังปากซอยหอ
– เดินเข้ามาถึงหอ ประมาณ 5 ทุ่มครึ่ง
20/3/52
– ออกจากหอเกือบบ่ายสอง
– นั่งรถเมล์ 104 ไปที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ต่อใต้ดินพหลโยธินไปสามย่าน (ฝนตก)
– แวะเข้าจามจุรีสแควร์
– ออกจากจามจุรีสแควร์ เข้าจุฬาไปตลาดสามย่าน
– แวะกินสเต็กที่สามย่าน
– เดินเลาะรั้วจากสามย่านไปสยาม
– ไปที่ Loft ซื้อกระเป๋าให้พี่
– เดินทะลุสยามเซ็นเตอร์ ข้ามไปที่ทรูไลฟ์ ไปนั่งชาร์ตแบตฟรี (พร้อมสเลอปี้แก้วเล็กจากเซเว่นที่ลิโด้)
– ไปพารากอน ซื้อของเล็กน้อย
– ขึ้นบีทีเอสสยาม ไปหมอชิต
– จากหมอชิต ต่อรถ 104 ลงหน้าโรงงานโตชิบา
Tags: kasemsakk, กรุงเทพ, ท่องเที่ยว, บันทึก